กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาด

ตำบลเกาะใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนสูงมากขึ้นทุกปี ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ

ในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตตามเกณฑ์ร้อยละ ≥60 (ค่าความดันโลหิต ≤ 140/90 มิลลิเมตรปรอท) และผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ร้อยละ ≥40 ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ในผู้ป่วยที่ควบคุมได้ < 7 ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม < 8 และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาดเปิดให้บริการคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกวันพฤหัสบดีที่2 ชองทุกเดือนพบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการต่อเนื่องและจากการคัดกรองโรคความดันจากปี 2566 พบว่า มีผู้มาคัดกรองจำนวน 1,104 ราย และคิดเป็นกลุ่มปกติ 718 รายคิดเป็นร้อยละ 83.61 กลุ่มเสี่ยง 140 รายคิดเป็นร้อยละ12.75 และกลุ่มป่วย 39 รายคิดเป็นร้อยละ 3.56และคัดกรองเบาหวาน จำนวน1,351ราย กลุ่มปกติ 1,009 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.69 กลุ่มเสี่ยง 319 รายคิดเป็นร้อยละ 23.61 กลุ่มป่วย 23 ราย คิดเป็นร้อยละ1.70 ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี และคัดกรองในประชาชนอายุ 15 – 34 ปี ทำการเฝ้าระวังการป่วยรายใหม่ ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมหาดจึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ขึ้น

0.50

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองเบาหวานความดันโลหิต

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อคัดแยกประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย

ร้อยละ100 ของประชาชนที่ได้รับการคัดกรองได้ทราบข้อมูลสภาวะสุขภาพของตนเอง

0.00
3 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานจากแพทย์

ร้อยละ 72 ของประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์

0.00
4 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับตรวจความดันซ้ำ/ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน 7 วัน

ร้อยละ 85 ของประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ

0.00
5 ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยเบาหวานควบคุมน้ำตาลได้ดี
ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันได้ดี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,328
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม.ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการและแนวทางคัดกรองโรค

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม.ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการและแนวทางคัดกรองโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปและจัดทำทะเบียนประชากรเป้าหมาย และเป้าหมายประชาชนอายุ 15-34 ปี เพื่อเฝ้าระวังการและชะลอการเป็นโรคของประชาชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
สำรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปและจัดทำทะเบียนประชากรเป้าหมาย และเป้าหมายประชาชนอายุ 15-34 ปี เพื่อเฝ้าระวังการและชะลอการเป็นโรคของประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวเพื่อขอความร่วมมือสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวเพื่อขอความร่วมมือสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 เจ้าหน้าที่ และ อสม.ออกตรวจหาน้ำตาลในเลือดทุกหมู่บ้านแก่กลุ่มเสี่ยง พร้อมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเรื่องการปฏิบัติดูแลตนเอง ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
เจ้าหน้าที่ และ อสม.ออกตรวจหาน้ำตาลในเลือดทุกหมู่บ้านแก่กลุ่มเสี่ยง พร้อมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเรื่องการปฏิบัติดูแลตนเอง ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 กิจกรรมการค้นหาและคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 4.1.1 แจ้งกลุ่มเป้าหมายให้งดน้ำและอาหาร ตั้งแต่เที่ยงคืนก่อนวันที่จะตรวจเลือด 4.1.2 ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโรคความดันและโรคเบาหวาน 4.1.3 ดำเนินการคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามแนวทางการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูง ของ คปสอ.กระแสสินธุ์ อย่างเป็นระบบ 4.1.4 คัดแยกประชาชนที่คัดกรองเป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย 4.1.5 จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย 4.1.6 ให้ความรู้รายบุคคลในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส. 4.1.7 บันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม JHCIS 4.1.8 ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานเข้ารับการตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานจากแพทย์ 4.1.9 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน 7 วัน กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อวินิจฉัยโรคความดัน โลหิตสูงจากแพทย์ -ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 30 ขวดๆละ750บาท เป็นเงิน 22,500 บาท -ค่าเข็มเจาะเลือด จำนวน 20 กล่องๆละ 350 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท -เครื่องเจาะน้ำตาล 2 เครื่องๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท 1 เครื่องๆละ3,600 บาท -ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล 3 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท -ค่าสมุดติดตามกลุ่มเสี่ยง 100 เล่มๆละ50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48600.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คนๆละ25 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000บาท -ค่าวัสดุ 500 บาท -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผลการดำเนินงานรายไตรมาส

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลการดำเนินงานรายไตรมาส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร้อยละ 90
2. ประชาชนอายุ 15- 34 ปี ได้รับการคัดกรองเพิ่มขึ้นเพื่อเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. ลดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
4. ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีและความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้น


>