2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสู่ลูกได้ การตั้งครรภ์เป็นสภาวะที่สภาพร่างกายของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างต่อเนื่อง ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงในช่องปาก หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดเหงือกอักเสบรุนแรงกว่าช่วงเวลาอื่น อัตราไหลของน้ำลายลดลง และเกิดฟันผุได้มากขึ้นเนื่องจากรับประทานอาหารบ่อยขึ้น และการมีอนามัยช่องปากที่ไม่ดี อาการอาเจียนบ่อยๆขณะแพ้ท้องอาจทำให้เกิดฟันสึกกร่อนจากการสัมผัสน้ำย่อย ที่เป็นกรด รวมทั้งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ยังส่งผล ต่อการเกิดฟันผุของลูกในอนาคต แม่ที่อนามัยช่องปากไม่สะอาดมีฟันผุมาก จึงมีโอกาสที่จะส่งผ่านเชื้อไปสู่ลูก ผ่านทางน้ำลายโดยเด็กที่ได้รับเชื้อที่ทำให้ฟันผุตั้งแต่อายุน้อยร่วมกับการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงจะเกิดฟันผุรวดเร็วและรุนแรง ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำรวมถึงการให้บริการขูดหินน้ำลายยังช่วยลดอัตราการเกิดเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ได้ รวมทั้งการสร้างทัศนคติและทักษะให้หญิงตั้งครรภ์ แม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดี จะส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไป หากเด็กได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยให้สามารถเก็บรักษาฟันให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้ ซึ่งเด็กเล็กยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ในการพัฒนา ด้านใดๆ ก็ตาม ยังต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างมากจากพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลเอาใจใส่และสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่เด็ก และส่งเสริมด้านการดูแลทันตสุขภาพอย่างจริงจัง
การส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากถือเป็นกิจกรรมดำเนินการที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการดูแลสุขภาพช่องปากนั้นจำเป็นต้องอาศัยทั้งกระบวนการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งจากทันตบุคลากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมถึงผู้ปกครอง บุคคลในครอบครัว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการสร้างเสริมทันตสุขภาพในเชิงบูรณาการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากมีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้อง ดังนั้น ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล จึงได้จัดทำโครงการหญิงตั้งครรภ์ฟันสวย ลูกน้อยฟันดี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเอง แม่สามารถดูแลฟันลูกได้ถูกต้อง และเด็กมีสภาวะทันตสุขภาพ ที่ดีขึ้นในอนาคต
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/04/2024
กำหนดเสร็จ 27/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและรักษาโรคในช่องปากตามความจำเป็น
3. เด็กอายุ 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก มีสุขภาพช่องปากที่สะอาดและไม่มีฟันผุ
4. ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-2 ปี