กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชะลอภาวะไตรเสื่อม ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชะลอภาวะไตรเสื่อม ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

โรงพยบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease; CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยสาเหตุของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.5 รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 25.6 โรคไตเรื้อรังในระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง โดยมักตรวจพบเมื่อโรคดำเนินไปมากแล้วหรือเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease) อีกทั้งการที่ไม่มีอาการผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยบางกลุ่มขาดความตระหนักต่อความรุนแรงของโรค จึงละเลยการดูตนเอง ไม่ค่อยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต บางกลุ่มเข้าใจว่าโรคไตที่ดำเนินอยู่เกิดจากการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน จึงแสวงหาหนทางในการดูแลตัวเอง ตามการรับรู้ หรือทัศนคติของตนเอง ได้แก่การรับประทานอาหารชีวจิตที่มีโปรตีนจากพืชและมีแคลเซียมฟอสเฟอรัสสูง หรือรับประทานสมุนไพรที่มีแร่ธาตุความเข้มข้นสูง เป็นการแก้ไขที่ไม่สอดคล้องกับพยาธิสภาพของโรค เพราะการรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานเนื้อไต จะถูกทำลาย ทำให้โรคดำเนินไปอย่างรวดเร็วเข้าสู่ระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (Thai Renal Replacement Therapy : RRT)การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทำให้รัฐบาลต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละกว่า 20,000 ล้านบาท โดยเป้าหมายที่สำคัญในการรักษา โรคไตเรื้อรัง คือ การป้องกันการเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่ภาวะโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายและการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อควบคุมปัจจัย เสี่ยงและให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งจากข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลท่านั่ง ปี 2564-2566 โดยในปี 2564 มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 จำนวน 163 คน , ระยะที่ 2 จำนวน 223 คน , ระยะที่ 3 จำนวน 57 คน, ปี 2565 มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 จำนวน 103 คน , ระยะที่ 2 จำนวน 225 คน , ระยะที่ จำนวน 55 คนและ ปี 2566 พบว่า เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 จำนวน 99 ราย, ระยะที่ 2 จำนวน 179 ราย, ระยะที่ 3a จำนวน 104 ราย, ระยะที่ ๓b จำนวน 52 ราย, ระยะที่ 4 จำนวน 13 ราย, ระยะที่ 5 จำนวน 3 ราย ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังให้มากยิ่งขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่ง จึงได้จัดทำโครงการชะลอภาวะไตเสื่อมในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะที่ 2 ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยในระยะแรกเริ่มได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอความเสื่อมของไตและลดโอกาสต่อการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หากประสบความสำเร็จก็จะขยายไปสู่กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 ตลอดจนประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตในคลินิกโรคเรื้อรัง ของ รพ.สต.ท่านั่ง
เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่จะช่วยให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังในระยะต่าง ๆได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 179
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอข้ออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอข้ออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ค้นหากลุ่มเป้าหมาย และตรวจค่า eGFR (อัตราการกรองของไต) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ค้นหากลุ่มเป้าหมาย และตรวจค่า eGFR (อัตราการกรองของไต) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ เกี่ยวกับการชะลอภาวะไตเสื่อม ให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ระยะที่ 2

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ เกี่ยวกับการชะลอภาวะไตเสื่อม ให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ระยะที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน  1 มื้อ อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 1 วัน จำนวน 60 คนๆละ100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท สื่อโมเดลอาหารผู้ป่วยโรคไต จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 4,900 บาท เครื่องตรวจวัดความเค็ม จำนวน 6 เครื่องๆละ 2,400 บาท เป็นเงิน 14,400   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้และทักษะในเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารรสเค็ม และใช้ยาอย่างปลอดภัย สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
สามารถลดระดับค่า eGFR (อัตราการกรองของไต) ของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้มีค่า eGFR (อัตราการกรองของไต) ดีขึ้น


>