กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองวัณโรคด้วยวาจาในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่ง

ภายในตำบลท่านั่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ปัญหาวัณโรคของประเทศไทย น่าจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภท ปีละ 101,000 ราย (อุบัติการณ์ 143 ต่อแสนประชากร) พบผู้ป่วยวัณโรคที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย 15,000 ราย เสียชีวิตปีละ 7,400 ราย และคาดประมาณปัญหา วัณโรคดื้อยาหลายขนานปีละ 1,100 ราย วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อได้ด้วยระบบทางเดินหายใจและติดต่อจากคนสู่คน พบได้ทั่วไปแต่จะพบมากที่สุดในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีที่สูบบุหรี่ หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไตเรื้อรังที่รับยากดภูมิคุ้มกัน โรคปอดฝุ่นหิน ประชากรกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เช่น ชุมชนแออัด นักโทษในเรือนจำ สถานสงเคราะห์ บ้านพักคนพิการ คนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้สารเสพติด แรงงานต่างด้าว และบุคลากรสาธารณสุข สำหรับผู้ที่รับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย จะไม่แสดงอาการป่วยในทันทีแต่จะแสดงอาการเมื่อร่างกายอ่อนแอ ซึ่งเชื้อวัณโรคสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 พบที่ปอดนอกจากนี้ยังพบได้ที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น สำหรับเชื้อวัณโรคสามารถแพร่กระจายโดยผู้ป่วยจะมีอาการไอ จาม ทำให้ละอองเสมหะฟุ้งกระจายล่องลอยอยู่ในอากาศ จะมีอาการไอเรื้อรังโดยเฉพาะตอนเย็นและค่ำ มีเหงื่อออกในตอนกลางคืนถึงแม้อากาศเย็น มีอาการไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ช่วงแรกจะไอแห้ง ๆ ต่อมา มีเสมหะออกมา บางครั้งมีเลือดปนเสมหะออกมาด้วย การรักษาวัณโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการกินยาอย่างน้อย 6 – 8 เดือน และสิ่งที่สำคัญคือการกินยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดการรักษาหรือหยุดยาก่อนกำหนด ตลอดจนถึงการให้กำลังใจและไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเอาชนะวัณโรคได้ ผู้ป่วยควรงดเหล้า บุหรี่ และปิดปาก จมูก เวลาไอ จาม บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดและทำลายโดยการเผา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สำหรับ สถานการณ์วัณโรคประเทศไทยปี 2565 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 103,000 รายต่อปี และมีการเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 12,000 รายต่อปี (ข้อมูลสำนักงานสสจ.สงขลา ณ 17 มีนาคม 2566)
จากสถานการณ์ปัญหาวัณโรคในตำบลท่านั่ง มีจำนวนผู้ป่วย ตั้งแต่ปี 2552-2566 จำนวน 33 ราย เป็นเพศหญิง จำนวน 16 รายคิดเป็นร้อยละ48เพศชาย จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 51 เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 78 และตั้งแต่ปี 2562-2566 มีผู้ป่วยด้วยโรควัณโรค เสียชีวิตด้วยโรค จำนวน 3 ราย ดังนั้นเพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ โดยผู้ป่วยจะได้รับการรักษาเร็วขึ้นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและลดการแพร่กระจายเชื้อได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่ง เล็งเห็นความสำคัญของการคัดกรองวัณโรค จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองวัณโรคด้วยวาจาในกลุ่มเสี่ยงนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อพัฒนาคุณภาพการป้องกันและการดูแลรักษาวัณโรคเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง และมีการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอข้ออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอข้ออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมความรู้ในการป้องกัน และการดูแลรักษาวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมความรู้ในการป้องกัน และการดูแลรักษาวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง เครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 100 บาท ในการอบรมความรู้ในการป้องกัน และการดูแลรักษาวัณโรค ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเข้าร่วมการอบรม                                  เป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค ประชาชนสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้


>