กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองวัณโรคด้วยวาจาในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่ง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศศิรัตน์ สะราคำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ม.ค. 2567 8,000.00
รวมงบประมาณ 8,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ปัญหาวัณโรคของประเทศไทย น่าจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภท ปีละ 101,000 ราย (อุบัติการณ์ 143 ต่อแสนประชากร) พบผู้ป่วยวัณโรคที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย 15,000 ราย เสียชีวิตปีละ 7,400 ราย และคาดประมาณปัญหา วัณโรคดื้อยาหลายขนานปีละ 1,100 ราย วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อได้ด้วยระบบทางเดินหายใจและติดต่อจากคนสู่คน พบได้ทั่วไปแต่จะพบมากที่สุดในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีที่สูบบุหรี่ หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไตเรื้อรังที่รับยากดภูมิคุ้มกัน โรคปอดฝุ่นหิน ประชากรกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เช่น ชุมชนแออัด นักโทษในเรือนจำ สถานสงเคราะห์ บ้านพักคนพิการ คนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้สารเสพติด แรงงานต่างด้าว และบุคลากรสาธารณสุข สำหรับผู้ที่รับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย จะไม่แสดงอาการป่วยในทันทีแต่จะแสดงอาการเมื่อร่างกายอ่อนแอ ซึ่งเชื้อวัณโรคสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 พบที่ปอดนอกจากนี้ยังพบได้ที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น สำหรับเชื้อวัณโรคสามารถแพร่กระจายโดยผู้ป่วยจะมีอาการไอ จาม ทำให้ละอองเสมหะฟุ้งกระจายล่องลอยอยู่ในอากาศ จะมีอาการไอเรื้อรังโดยเฉพาะตอนเย็นและค่ำ มีเหงื่อออกในตอนกลางคืนถึงแม้อากาศเย็น มีอาการไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ช่วงแรกจะไอแห้ง ๆ ต่อมา มีเสมหะออกมา บางครั้งมีเลือดปนเสมหะออกมาด้วย การรักษาวัณโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการกินยาอย่างน้อย 6 – 8 เดือน และสิ่งที่สำคัญคือการกินยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดการรักษาหรือหยุดยาก่อนกำหนด ตลอดจนถึงการให้กำลังใจและไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเอาชนะวัณโรคได้ ผู้ป่วยควรงดเหล้า บุหรี่ และปิดปาก จมูก เวลาไอ จาม บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดและทำลายโดยการเผา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สำหรับ สถานการณ์วัณโรคประเทศไทยปี 2565 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 103,000 รายต่อปี และมีการเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 12,000 รายต่อปี (ข้อมูลสำนักงานสสจ.สงขลา ณ 17 มีนาคม 2566) จากสถานการณ์ปัญหาวัณโรคในตำบลท่านั่ง มีจำนวนผู้ป่วย ตั้งแต่ปี 2552-2566 จำนวน 33 ราย เป็นเพศหญิง จำนวน 16 รายคิดเป็นร้อยละ48เพศชาย จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 51 เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 78 และตั้งแต่ปี 2562-2566 มีผู้ป่วยด้วยโรควัณโรค เสียชีวิตด้วยโรค จำนวน 3 ราย ดังนั้นเพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ โดยผู้ป่วยจะได้รับการรักษาเร็วขึ้นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและลดการแพร่กระจายเชื้อได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านั่ง เล็งเห็นความสำคัญของการคัดกรองวัณโรค จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองวัณโรคด้วยวาจาในกลุ่มเสี่ยงนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 31 ธ.ค. 66 จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอข้ออนุมัติ 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรม จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 เม.ย. 67 อบรมความรู้ในการป้องกัน และการดูแลรักษาวัณโรค 0 8,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค ประชาชนสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 00:00 น.