กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่ง

พื้นที่หมู่ 1-6 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเพราะไม่เพียงแต่ให้พลังงานร่างกายแต่ยังให้ความสุขจากการที่มนุษย์ได้เลือกซื้อและรับประทานอาหารตามความชอบ ความถูกใจ โดยพิจารณาจาก สี ลักษณะที่มองเห็น เนื้อสัมผัส และที่ขาดไม่ได้คือกลิ่นรสที่ต้องเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคด้วย ความสามารถในการรับกลิ่นรสอาหาร ด้วยเหตุนี้เองทำให้อุตสาหกรรมอาหารต่างๆต้องมีการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารโรงอาหารในโรงเรียน เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารรัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาด การตรวจสอบการปนเปื้อนของอัลฟลาทอกซิน น้ำมันทอดซ้ำ และการตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดของผู้บริโภค เกษตรกร ของแผงจำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร การตรวจสอบมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะจากผลการดำเนินงาน โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ในปีงบประมาณ 2565 พบว่า ออกตรวจร้านค้าและแผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์แบบตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหารของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ในตำบลท่านั่ง โดยมีร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 16 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๙5.83และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 4.16 ซึ่งร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ พบว่าบริเวณเขียงมีรอยแตกของไม้ ทำให้มีแบคทีเรียไปสะสมอยู่ จึงแนะนำใช้เขียงที่ไม่มีรอยแตกร้าว ล้างให้สะอาด พึ่งแดด ทุกครั้งหลังใช้ และมีร้านขายของชำ จำนวน 23 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 21 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 91.30และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 2 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 8.69 ซึ่งร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ พบว่าน้ำหน่อไม้ดอง ทำเองแบ่งขายเป็นขวด จึงได้แนะนำให้แบบขวดที่มีภาชนะปิดมิดชิด มี อย. มาขายแทนดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่ง มีความตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี ไม่เกิดการเจ็บป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนากำกับดูแลร้านอาหารแผงลอยและร้านชำในพื้นที่
2. เพื่อตรวจสอบเฝ้าระหวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหาร แก้ไขปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายและเรื่องร้องเรียนในพื้นที่
3. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารและยา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 380
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดทำแผนงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดทำแผนงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำและอนุมัติแผนงาน/โครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำและอนุมัติแผนงาน/โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
จัดหาชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร (ผงกรอบ) 1 ชุดๆละ 220 บาท เป็นเงิน 220 บาท
-ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิคในอาหาร (สารกันรา) 1 ชุดๆละ 250 เป็นเงิน 250 บาท
-ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) 1 ชุดๆละ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท -ชุดทดสอบฟอร์มาลิน 50 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 100 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในผัก 2 ชุดๆละ 1,250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8120.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมชี้แจง ความรู้ในการปฏิบัติงานตรวจประเมินร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ให้กับกลุ่ม อสม.ผู้ปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง ความรู้ในการปฏิบัติงานตรวจประเมินร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ให้กับกลุ่ม อสม.ผู้ปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจประเมินร้านขายของชำร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินร้านขายของชำร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่ายานพาหนะเหมาจ่าย จำนวน 12 คนๆ ละ 100 บาท จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 6 มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติดี อาหารปลอดภัยให้แก่ร้านอาหารแผงลอยที่ผ่านตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติดี อาหารปลอดภัยให้แก่ร้านอาหารแผงลอยที่ผ่านตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรม ค้นหากลุ่มเป้าหมาย พร้อมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดให้กับกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ค้นหากลุ่มเป้าหมาย พร้อมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดให้กับกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แผ่นตรวจโลลีนเอสเทอเรส จำนวน 5 กล่อง ( 1กล่องมี 100 แผ่น)ๆละ 675 บาท เป็นเงิน 3,375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3375.00

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ และอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ สำหรับกลุ่มเกษตรกร และผู้บริโภค จำนวน 50 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,895.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
2. ร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารมีการพัฒนาตามมาตรฐานสุขาภิบาล
3. เกษตรกร และผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายดีขึ้น


>