กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่ง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 18,895.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนพล อยู่ศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 380 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเพราะไม่เพียงแต่ให้พลังงานร่างกายแต่ยังให้ความสุขจากการที่มนุษย์ได้เลือกซื้อและรับประทานอาหารตามความชอบ ความถูกใจ โดยพิจารณาจาก สี ลักษณะที่มองเห็น เนื้อสัมผัส และที่ขาดไม่ได้คือกลิ่นรสที่ต้องเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคด้วย ความสามารถในการรับกลิ่นรสอาหาร ด้วยเหตุนี้เองทำให้อุตสาหกรรมอาหารต่างๆต้องมีการพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารโรงอาหารในโรงเรียน เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารรัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาด การตรวจสอบการปนเปื้อนของอัลฟลาทอกซิน น้ำมันทอดซ้ำ และการตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดของผู้บริโภค เกษตรกร ของแผงจำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร การตรวจสอบมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะจากผลการดำเนินงาน โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ในปีงบประมาณ 2565 พบว่า ออกตรวจร้านค้าและแผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์แบบตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหารของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ในตำบลท่านั่ง โดยมีร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 16 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๙5.83และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 4.16 ซึ่งร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ พบว่าบริเวณเขียงมีรอยแตกของไม้ ทำให้มีแบคทีเรียไปสะสมอยู่ จึงแนะนำใช้เขียงที่ไม่มีรอยแตกร้าว ล้างให้สะอาด พึ่งแดด ทุกครั้งหลังใช้ และมีร้านขายของชำ จำนวน 23 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 21 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 91.30และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 2 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 8.69 ซึ่งร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ พบว่าน้ำหน่อไม้ดอง ทำเองแบ่งขายเป็นขวด จึงได้แนะนำให้แบบขวดที่มีภาชนะปิดมิดชิด มี อย. มาขายแทนดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่ง มีความตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี ไม่เกิดการเจ็บป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,895.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมจัดทำแผนงานโครงการ 0 0.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดทำและอนุมัติแผนงาน/โครงการ 0 0.00 -
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 จัดหาชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 0 8,120.00 -
1 ก.พ. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรม ค้นหากลุ่มเป้าหมาย พร้อมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดให้กับกลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค 0 3,375.00 -
1 - 30 เม.ย. 66 ประชุมชี้แจง ความรู้ในการปฏิบัติงานตรวจประเมินร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ให้กับกลุ่ม อสม.ผู้ปฏิบัติงาน 0 0.00 -
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ตรวจประเมินร้านขายของชำร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย จำนวน 2 ครั้ง 0 2,400.00 -
1 เม.ย. 66 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้บริโภค 0 5,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 66 มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติดี อาหารปลอดภัยให้แก่ร้านอาหารแผงลอยที่ผ่านตามเกณฑ์ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
    1. ร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารมีการพัฒนาตามมาตรฐานสุขาภิบาล
    2. เกษตรกร และผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2567 00:00 น.