กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง รหัส กปท. L4159

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการป้องกันเด็กจมน้ำช่วงปิดภาคเรียน หลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดตำบลท่าธง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง
กลุ่มคน
นางมลฑิรา สายวารี
นางสาวรอกีเยาะเจะมะ
3.
หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การเสียชีวิตช่วงช่วงที่เด็กปิดเทอม เด็กๆ อาจชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพัง โดยขาดการดูแลจากผู้ปกครอง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้ ข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561 - 2565) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม) จำนวน 953 ราย เฉลี่ยวันละ 2 ราย เดือนเมษายนพบเหตุการณ์จมน้ำมากที่สุด 65 ราย รองลงมาคือ เดือนมีนาคม 64 ราย และเดือนพฤษภาคม 63 ราย

โดยมีจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 10 รายถึง 40 จังหวัด เสียชีวิต 6-10 ราย มี 19 จังหวัด เสียชีวิต 2-5 รายมี 16 จังหวัด และมีเพียง 2 จังหวัดที่เสียชีวิตน้อยกว่า 2 ราย ได้แก่ จังหวัดระนอง และลำพูน แหล่งน้ำที่พบว่าเด็กจมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 76.5) เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ/ฝาย (11.1) ทะเล (5.3) ภาชนะภายในบ้าน (3.5) และสระว่ายน้ำ/สวนน้ำ (1.8) โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเล่นน้ำมากที่สุด (ร้อยละ59.4) รองลงมาคือ พลัดตกลื่น (21.5) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ขาดการดูแลจากผู้ปกครอง และขาดความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยง

ทั้งนี้ 10 จังหวัดแรกที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อน ปี 2561 ถึง 2565 ได้แก่ บุรีรัมย์ (45 ราย) อุดรธานี (38 ราย) นครราชสีมา (37 ราย) สุรินทร์ (30 ราย) ร้อยเอ็ด (28 ราย)สกลนคร (28 ราย)นครสวรรค์ (26 ราย) ขอนแก่น (25 ราย) นครศรีธรรมราช (25 ราย) และปัตตานี (24 ราย) โดย 7 ใน 10 จังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด คือเด็กอายุ 5-9 ปี (ร้อยละ 42.1) รองลงมาคือ อายุ 0-4 ปี (31.5) และอายุ 10-14 ปี (26.4) เพศชายจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.2 เท่าตัว

ทั้งนี้ในตำบลท่าธงเป็นชุมชนที่แหล่งน้ำหลายจุด มีแม่น้ำสำัญ คือแม่น้ำสายบุรี อยู่ในพื้นที่ ม.2 บ้านจะรังตาดง ม.3 บ้านพรุ และ ม.7 บ้านเจาะกาแต และมีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นพรุ ในพื้นที่ ม.1 บ้านโต๊ะพราน ติดต่อกับอำเภอทุ่งยางแดง และแหล่งน้ำคลอง อื่นๆ ในพื้นที่ โดยข้อมูลในปี 2560 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำจำนวน 1 ราย และปัจจุบันมีเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 20 และอีก ร้อยละ 80 ว่ายน้ำไม่เป็นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ/ตกน้ำ หากเด็กสามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้จะช่วยป้องกันการจมน้ำได้มากกว่าเด็กที่ไม่สามารถว่ายน้ำได้ถึง 4 เท่าตัว ดังนั้นการฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำให้แก่เด็กจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและป้องกันเด็กจากอุบัติเหตุการจมน้ำที่อาจส่งผลต่อความรุนแรงของโรคได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กว่ายน้ำเป็นมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 เด็กว่ายน้ำเป็นมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 70.00
  • 2. เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก
    ตัวชี้วัด : ลดความเสี่ยงจากการจมน้ำในเด็กได้ ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 40.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยกิจกรรมว่ายน้ำ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 เด็กได้มีกิจกรรมทางกายและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ
    รายละเอียด

    ติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การให้ความช่วยเหลือเด็กจมน้ำตามแหล่งน้ำที่สำคัญ 2 จุด ได้แก่ แม่น้ำสายบุรี ในพื้นที่ ม.2 บ้านจะรังตาดงม.3 บ้านพรุ

    ค่าใช้จ่าย
    1. ป้ายไวนิล ขนาด 2.4 * 1.2 พร้อมติดตั้งโครงไม้ จำนวน 2 ชุด ๆ ละ ราคา 3000 บาท เป็นเงิน 6000 บาท

    งบประมาณ 6,000.00 บาท
  • 2. อบรมให้ความรู้
    รายละเอียด

    อบรมให้ความรุ้เรื่องทักษะการป้องกันเด็กจมน้ำ การปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตคนจมน้ำ ให้แก่ เด็กวัยก่อนเรียนและคุณครู

    ค่าใช้จ่าย

    1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 8 คน ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 ชม. เป็นเงิน 4800 บาท

    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4000 บาท

    3. ค่าอาหารกลางวัน กลุ่มเป้าหมายและวิทยาการ จำนวน 80 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 4800 บาท

    4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1* 2 ม. จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 600 บาท

    5. ค่าเหมารถทัวร์เดินทาง ไป - กลับ จำนวน 1 คัน ๆ ละ 4000 บาท

    กำหนดการ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2567 ณ สวนน้ำเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

    08.30 น.-เริ่มออกเดินทาง จาก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง สู่สวนน้ำเทศบาลนครยะลา

    09.30 น.ถึงที่หมายปลายทาง

    09.45 น. – 10.15 น. - ลงทะเบียน

    10.16 น. – 10.30 น. -กล่าวรายงานเปิดพิธี โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

    10.31 น. – 11.30 น. -บรรยายให้ความรู้ทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ สถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบัน และการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตคนตกน้ำหรือจมน้ำ

    11.31 น.- 13.59 น. พักเที่ยง รับประทานอาหาร และปฏิบัติศาสนกิจ

    14.00 น. – 15.30 น. -ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว

    15.31 น. – 16.00 น. -อาบน้ำชำระร่างกายพร้อมเปลี่ยนชุดลำลอง พร้อมออกเดินทางกลับ

    16.01 น. – 17.00 น. - ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

    งบประมาณ 18,200.00 บาท
  • 3. ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว
    รายละเอียด

    ทีมวิทยากร 8 คน แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 10 คน ต่อวิทยการ 1 คน เพื่อฝึกการพยุงตัว และว่ายน้ำให้ได้

    ค่าใช้จ่าย 1. ค่าชุดว่ายน้ำพร้อมหมวกสำหรับให้นักเรียนยืมสวมใส่ว่ายน้ำ จำนวน 80 คน ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 28000 บาท

    กำหนดการ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2567 ณ สวนน้ำเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

    08.30 น.-เริ่มออกเดินทาง จาก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง สู่สวนน้ำเทศบาลนครยะลา

    09.30 น.ถึงที่หมายปลายทาง

    09.45 น. – 10.15 น. - ลงทะเบียน

    10.16 น. – 10.30 น. -กล่าวรายงานเปิดพิธี โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

    10.31 น. – 11.30 น. -บรรยายให้ความรู้ทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ สถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบัน และการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตคนตกน้ำหรือจมน้ำ

    11.31 น.- 13.59 น. พักเที่ยง รับประทานอาหาร และปฏิบัติศาสนกิจ

    14.00 น. – 15.30 น. -ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว

    15.31 น. – 16.00 น. -อาบน้ำชำระร่างกายพร้อมเปลี่ยนชุดลำลอง พร้อมออกเดินทางกลับ

    16.01 น. – 17.00 น. - ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

    งบประมาณ 28,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 80 คน

ส่งเสริมทักษะการเอาตัวรอดจากภัยจมน้ำ

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 29 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

สวนน้ำเทศบาลนครยะลา และพื้นที่ตำบลท่าธง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 52,200.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. นักเรียนผู้เข้าร่วมอบรมไม่มีใครเสียชีวิตจากการจมน้ำ
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมสามารถปฐมพยาบาลและช่วยคนจมน้ำได้
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง รหัส กปท. L4159

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง รหัส กปท. L4159

อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 52,200.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................