กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันเด็กจมน้ำช่วงปิดภาคเรียน หลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดตำบลท่าธง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

นางมลฑิรา สายวารี
นางสาวรอกีเยาะเจะมะ

สวนน้ำเทศบาลนครยะลา และพื้นที่ตำบลท่าธง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยก่อนเรียน ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาที ต่อ1 วัน)

 

80.00
2 จำนวนเด็กวัยก่อนเรียนที่มีความเสียงต่อการจมน้ำเนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็นและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

 

80.00

ด้วยสถานการณ์การเสียชีวิตช่วงช่วงที่เด็กปิดเทอม เด็กๆ อาจชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพัง โดยขาดการดูแลจากผู้ปกครอง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้ ข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561 - 2565) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม) จำนวน 953 ราย เฉลี่ยวันละ 2 ราย เดือนเมษายนพบเหตุการณ์จมน้ำมากที่สุด 65 ราย รองลงมาคือ เดือนมีนาคม 64 ราย และเดือนพฤษภาคม 63 ราย

โดยมีจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 10 รายถึง 40 จังหวัด เสียชีวิต 6-10 ราย มี 19 จังหวัด เสียชีวิต 2-5 รายมี 16 จังหวัด และมีเพียง 2 จังหวัดที่เสียชีวิตน้อยกว่า 2 ราย ได้แก่ จังหวัดระนอง และลำพูน แหล่งน้ำที่พบว่าเด็กจมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 76.5) เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ/ฝาย (11.1) ทะเล (5.3) ภาชนะภายในบ้าน (3.5) และสระว่ายน้ำ/สวนน้ำ (1.8) โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเล่นน้ำมากที่สุด (ร้อยละ59.4) รองลงมาคือ พลัดตกลื่น (21.5) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ขาดการดูแลจากผู้ปกครอง และขาดความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยง

ทั้งนี้ 10 จังหวัดแรกที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อน ปี 2561 ถึง 2565 ได้แก่ บุรีรัมย์ (45 ราย) อุดรธานี (38 ราย) นครราชสีมา (37 ราย) สุรินทร์ (30 ราย) ร้อยเอ็ด (28 ราย)สกลนคร (28 ราย)นครสวรรค์ (26 ราย) ขอนแก่น (25 ราย) นครศรีธรรมราช (25 ราย) และปัตตานี (24 ราย) โดย 7 ใน 10 จังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด คือเด็กอายุ 5-9 ปี (ร้อยละ 42.1) รองลงมาคือ อายุ 0-4 ปี (31.5) และอายุ 10-14 ปี (26.4) เพศชายจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.2 เท่าตัว

ทั้งนี้ในตำบลท่าธงเป็นชุมชนที่แหล่งน้ำหลายจุด มีแม่น้ำสำัญ คือแม่น้ำสายบุรี อยู่ในพื้นที่ ม.2 บ้านจะรังตาดง ม.3 บ้านพรุ และ ม.7 บ้านเจาะกาแต และมีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นพรุ ในพื้นที่ ม.1 บ้านโต๊ะพราน ติดต่อกับอำเภอทุ่งยางแดง และแหล่งน้ำคลอง อื่นๆ ในพื้นที่ โดยข้อมูลในปี 2560 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำจำนวน 1 ราย และปัจจุบันมีเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 20 และอีก ร้อยละ 80 ว่ายน้ำไม่เป็นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ/ตกน้ำ หากเด็กสามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้จะช่วยป้องกันการจมน้ำได้มากกว่าเด็กที่ไม่สามารถว่ายน้ำได้ถึง 4 เท่าตัว ดังนั้นการฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำให้แก่เด็กจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและป้องกันเด็กจากอุบัติเหตุการจมน้ำที่อาจส่งผลต่อความรุนแรงของโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กว่ายน้ำเป็นมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

ร้อยละ 90 เด็กว่ายน้ำเป็นมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

80.00 70.00
2 เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก

ลดความเสี่ยงจากการจมน้ำในเด็กได้ ร้อยละ 50

80.00 40.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยกิจกรรมว่ายน้ำ

ร้อยละ 100 เด็กได้มีกิจกรรมทางกายและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การให้ความช่วยเหลือเด็กจมน้ำตามแหล่งน้ำที่สำคัญ 2 จุด ได้แก่ แม่น้ำสายบุรี ในพื้นที่ ม.2 บ้านจะรังตาดงม.3 บ้านพรุ

ค่าใช้จ่าย
1. ป้ายไวนิล ขนาด 2.4 * 1.2 พร้อมติดตั้งโครงไม้ จำนวน 2 ชุด ๆ ละ ราคา 3000 บาท เป็นเงิน 6000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2567 ถึง 29 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้การให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์คนจมน้ำหรือตกน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรุ้เรื่องทักษะการป้องกันเด็กจมน้ำ การปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตคนจมน้ำ ให้แก่ เด็กวัยก่อนเรียนและคุณครู

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 8 คน ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 ชม. เป็นเงิน 4800 บาท

  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4000 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน กลุ่มเป้าหมายและวิทยาการ จำนวน 80 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 4800 บาท

  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1* 2 ม. จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 600 บาท

  5. ค่าเหมารถทัวร์เดินทาง ไป - กลับ จำนวน 1 คัน ๆ ละ 4000 บาท

กำหนดการ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2567 ณ สวนน้ำเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

08.30 น.-เริ่มออกเดินทาง จาก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง สู่สวนน้ำเทศบาลนครยะลา

09.30 น.ถึงที่หมายปลายทาง

09.45 น. – 10.15 น. - ลงทะเบียน

10.16 น. – 10.30 น. -กล่าวรายงานเปิดพิธี โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

10.31 น. – 11.30 น. -บรรยายให้ความรู้ทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ สถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบัน และการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตคนตกน้ำหรือจมน้ำ

11.31 น.- 13.59 น. พักเที่ยง รับประทานอาหาร และปฏิบัติศาสนกิจ

14.00 น. – 15.30 น. -ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว

15.31 น. – 16.00 น. -อาบน้ำชำระร่างกายพร้อมเปลี่ยนชุดลำลอง พร้อมออกเดินทางกลับ

16.01 น. – 17.00 น. - ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนและคุณครูได้มีความรู้ทักษะการป้องกันเด็กจมน้ำ การปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตคนจมน้ำได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18200.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทีมวิทยากร 8 คน แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 10 คน ต่อวิทยการ 1 คน เพื่อฝึกการพยุงตัว และว่ายน้ำให้ได้

ค่าใช้จ่าย 1. ค่าชุดว่ายน้ำพร้อมหมวกสำหรับให้นักเรียนยืมสวมใส่ว่ายน้ำ จำนวน 80 คน ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 28000 บาท

กำหนดการ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2567 ณ สวนน้ำเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

08.30 น.-เริ่มออกเดินทาง จาก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง สู่สวนน้ำเทศบาลนครยะลา

09.30 น.ถึงที่หมายปลายทาง

09.45 น. – 10.15 น. - ลงทะเบียน

10.16 น. – 10.30 น. -กล่าวรายงานเปิดพิธี โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง

10.31 น. – 11.30 น. -บรรยายให้ความรู้ทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำ สถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบัน และการปฐมพยาบาลช่วยชีวิตคนตกน้ำหรือจมน้ำ

11.31 น.- 13.59 น. พักเที่ยง รับประทานอาหาร และปฏิบัติศาสนกิจ

14.00 น. – 15.30 น. -ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว

15.31 น. – 16.00 น. -อาบน้ำชำระร่างกายพร้อมเปลี่ยนชุดลำลอง พร้อมออกเดินทางกลับ

16.01 น. – 17.00 น. - ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่เข้าร่วมสามารถพยุงตัวและว่ายน้ำเป็นมากกว่า ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนผู้เข้าร่วมอบรมไม่มีใครเสียชีวิตจากการจมน้ำ
2. นักเรียนที่เข้าร่วมสามารถปฐมพยาบาลและช่วยคนจมน้ำได้


>