กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันเด็กจมน้ำช่วงปิดภาคเรียน หลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดตำบลท่าธง
รหัสโครงการ 67-L4109-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 เมษายน 2567 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 52,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอกีเยาะ เจะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยก่อนเรียน ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาที ต่อ1 วัน)
80.00
2 จำนวนเด็กวัยก่อนเรียนที่มีความเสียงต่อการจมน้ำเนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็นและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การเสียชีวิตช่วงช่วงที่เด็กปิดเทอม เด็กๆ อาจชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพัง โดยขาดการดูแลจากผู้ปกครอง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้ ข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561 - 2565) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม) จำนวน 953 ราย เฉลี่ยวันละ 2 ราย เดือนเมษายนพบเหตุการณ์จมน้ำมากที่สุด 65 ราย รองลงมาคือ เดือนมีนาคม 64 ราย และเดือนพฤษภาคม 63 ราย

โดยมีจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 10 รายถึง 40 จังหวัด เสียชีวิต 6-10 ราย มี 19 จังหวัด เสียชีวิต 2-5 รายมี 16 จังหวัด และมีเพียง 2 จังหวัดที่เสียชีวิตน้อยกว่า 2 ราย ได้แก่ จังหวัดระนอง และลำพูน แหล่งน้ำที่พบว่าเด็กจมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 76.5) เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ/ฝาย (11.1) ทะเล (5.3) ภาชนะภายในบ้าน (3.5) และสระว่ายน้ำ/สวนน้ำ (1.8) โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเล่นน้ำมากที่สุด (ร้อยละ59.4) รองลงมาคือ พลัดตกลื่น (21.5) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ขาดการดูแลจากผู้ปกครอง และขาดความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยง

ทั้งนี้ 10 จังหวัดแรกที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อน ปี 2561 ถึง 2565 ได้แก่ บุรีรัมย์ (45 ราย) อุดรธานี (38 ราย) นครราชสีมา (37 ราย) สุรินทร์ (30 ราย) ร้อยเอ็ด (28 ราย)สกลนคร (28 ราย)นครสวรรค์ (26 ราย) ขอนแก่น (25 ราย) นครศรีธรรมราช (25 ราย) และปัตตานี (24 ราย) โดย 7 ใน 10 จังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุที่จมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด คือเด็กอายุ 5-9 ปี (ร้อยละ 42.1) รองลงมาคือ อายุ 0-4 ปี (31.5) และอายุ 10-14 ปี (26.4) เพศชายจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.2 เท่าตัว

ทั้งนี้ในตำบลท่าธงเป็นชุมชนที่แหล่งน้ำหลายจุด มีแม่น้ำสำัญ คือแม่น้ำสายบุรี อยู่ในพื้นที่ ม.2 บ้านจะรังตาดง ม.3 บ้านพรุ และ ม.7 บ้านเจาะกาแต และมีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เป็นพรุ ในพื้นที่ ม.1 บ้านโต๊ะพราน ติดต่อกับอำเภอทุ่งยางแดง และแหล่งน้ำคลอง อื่นๆ ในพื้นที่ โดยข้อมูลในปี 2560 มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำจำนวน 1 ราย และปัจจุบันมีเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ว่ายน้ำเป็น ร้อยละ 20 และอีก ร้อยละ 80 ว่ายน้ำไม่เป็นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ/ตกน้ำ หากเด็กสามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้จะช่วยป้องกันการจมน้ำได้มากกว่าเด็กที่ไม่สามารถว่ายน้ำได้ถึง 4 เท่าตัว ดังนั้นการฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำให้แก่เด็กจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและป้องกันเด็กจากอุบัติเหตุการจมน้ำที่อาจส่งผลต่อความรุนแรงของโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กว่ายน้ำเป็นมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

ร้อยละ 90 เด็กว่ายน้ำเป็นมีทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

80.00 70.00
2 เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็ก

ลดความเสี่ยงจากการจมน้ำในเด็กได้ ร้อยละ 50

80.00 40.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กและเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยกิจกรรมว่ายน้ำ

ร้อยละ 100 เด็กได้มีกิจกรรมทางกายและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 52,200.00 0 0.00
29 เม.ย. 67 ประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ 0 6,000.00 -
30 เม.ย. 67 อบรมให้ความรู้ 0 18,200.00 -
30 เม.ย. 67 ฝึกปฏิบัติว่ายน้ำและพยุงตัว 0 28,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนผู้เข้าร่วมอบรมไม่มีใครเสียชีวิตจากการจมน้ำ
  2. นักเรียนที่เข้าร่วมสามารถปฐมพยาบาลและช่วยคนจมน้ำได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 00:00 น.