กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างให้ตก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างให้ตก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก

ตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ กับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข
ข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตำบลช้างให้ตก จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 452 คน ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ 114 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.22 และโรคเบาหวาน จำนวน 118 รายควบคุมระดับน้ำตาลได้ 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.41
จากสถานการณ์ที่มีอัตราการควบคุมโรคได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้กลุ่มป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเบาหวาน/และโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนและควบคุมโรคได้ ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเอง มีความรู้มากขึ้น ร้อยละ 80

 

0.00
2 2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ สามารถควบคุมโรคเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 80คน x 1  มื้อๆ ละ 70 บาท                   เป็นเงิน    5,6๐0 บาท            2.  อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม  จำนวน 80คน x  2 มื้อๆ ละ  30 บาท                 เป็นเงิน    4,800 บาท         3. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1x3เมตร จำนวน 4 ป้าย x 45๐ บาท  เป็นเงิน  1,800  บาท         4. ค่ากระเป๋าและเอกสาร    จำนวน 80 ชุด ชุดละ 80 บาท                     เป็นเงิน 6,400 บาท         5. ค่าสมนาคุณวิทยากร   จำนวน 3 คนx 2ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท            เป็นเงิน 1,800 บาท                                                              รวมเป็นเงิน  20,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน 80คนx1มื้อๆ ละ 70 บาท                  เป็นเงิน 5,600 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 80คน x  2 มื้อๆ ละ  30 บาท            เป็นเงิน  4,800 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร    จำนวน 3 คนx 2ชั่วโมง ๆ  ละ 300 บาท       เป็นเงิน  1,800 บาท
  4. ค่าวัสดุสำนักงาน (ปากกา,สมุด,กระดาษ ฯลฯ)                               เป็นเงิน  2,000 บาท                                                          รวมเป็นเงิน  14,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตกได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วย
3. เกิดบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ


>