กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ปี 2567
รหัสโครงการ 67-l2976-01-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2567
งบประมาณ 34,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันติพงษ์ สืบสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ กับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข
ข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตำบลช้างให้ตก จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 452 คน ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ 114 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.22 และโรคเบาหวาน จำนวน 118 รายควบคุมระดับน้ำตาลได้ 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.41 จากสถานการณ์ที่มีอัตราการควบคุมโรคได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้กลุ่มป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเบาหวาน/และโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนและควบคุมโรคได้ ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเอง มีความรู้มากขึ้น ร้อยละ 80

 

0.00
2 2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการ สามารถควบคุมโรคเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,600.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 15 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 20,400.00 -
1 เม.ย. 67 - 15 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเอง 0 14,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตกได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วย
  3. เกิดบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 00:00 น.