กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าธง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ

1.นางจิราพรสงบเงียบ
2.นางสาวพาตีเมาะซาแม็ง
3.นางอุบลรัตน์บุญเนื่อง
4.นางสาวมารีหย๊ะกะตะแซ
5.นางศิรภัสสรพรหมเลข

ม.4 , ม.5 , ม.6 ต.ท่าธง อ.รามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อหลายๆ โรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ เพราะโรคติดต่อที่ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของชุมชน

 

86.00

โรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อหลายๆ โรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคติดต่อที่ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ ป้องกัน และควบคุมโรคมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อหลายๆ โรคไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากข้อมูลรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ ในปี 2566 ปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ เช่น ไข้เลือดออก โรคมือ เท้า ปาก โรคตาแดง ฯลฯ พบว่าสามารถลดอัตราป่วยได้ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชน และการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้ชุมชนรับรู้ถึงการระบาดของโรค วิธีป้องกัน รวมถึงการแพร่เชื้อและการกระจายโรค
โรคติดต่อ เกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ โดยการสร้างทัศนคติ และปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในชุมชน
จากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาของโรคติดต่อ เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งปัญหาของโรคติดต่อในชุมชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนไป โดยเน้นให้ประชาชนในชุมชน เห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค จัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคติดต่อ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ ในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ

ร้อยละ 90 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครวการ มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ

86.00 78.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสความร่วมมือของประชาชนและองค์กรต่างๆ ในชุมชนในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ทำลายแหล่งรังโรคของสัตว์นำโรค

ร้อยละ 10 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ผ่านการประเมินบ้านตัวอย่างปลอดลูกน้ำยุงลาย

86.00 9.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแกนนำประชาชนในชุมชน 86

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานแก่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานแก่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนสำหรับการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 25 คน X 2 มื้อ X 2 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 36 คน X 2 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท X 25 คน X 1 มื้อ X 2 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท X 36 คน X 1 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 2,160 บาท
  • ค่าวิทยากรภายนอกจำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 X 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 900 บาท รวมเงินทั้งสิ้น17,560 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยหกสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ในชุมชน 2.ลดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17560.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย แหล่งเพาะพันธ์สัตว์และแมลงนำโรค และทำลายแหล่งรังโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย แหล่งเพาะพันธ์สัตว์และแมลงนำโรค และทำลายแหล่งรังโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนและองค์กรต่างๆ ในชุมชนมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ทำลายแหล่งรังโรคของสัตว์นำโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,560.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
2.มีบ้านตัวอย่างปลอดลูกน้ำยุงลายเกิดขึ้นในชุมชน


>