กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L4159-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 เมษายน 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 17,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเมาะ ซาแม็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ม.4 ม.5 ม.6
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 มิ.ย. 2567 6 มิ.ย. 2567 17,560.00
รวมงบประมาณ 17,560.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 86 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อหลายๆ โรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ เพราะโรคติดต่อที่ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของชุมชน
86.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อหลายๆ โรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคติดต่อที่ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ ป้องกัน และควบคุมโรคมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อหลายๆ โรคไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากข้อมูลรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ ในปี 2566 ปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ เช่น ไข้เลือดออก โรคมือ เท้า ปาก โรคตาแดง ฯลฯ พบว่าสามารถลดอัตราป่วยได้ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชน และการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้ชุมชนรับรู้ถึงการระบาดของโรค วิธีป้องกัน รวมถึงการแพร่เชื้อและการกระจายโรค โรคติดต่อ เกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ โดยการสร้างทัศนคติ และปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในชุมชน จากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหาของโรคติดต่อ เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งปัญหาของโรคติดต่อในชุมชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนไป โดยเน้นให้ประชาชนในชุมชน เห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค จัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคติดต่อ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ ในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ

ร้อยละ 90 ของประชาชนที่เข้าร่วมโครวการ มีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ

86.00 78.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสความร่วมมือของประชาชนและองค์กรต่างๆ ในชุมชนในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ทำลายแหล่งรังโรคของสัตว์นำโรค

ร้อยละ 10 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ผ่านการประเมินบ้านตัวอย่างปลอดลูกน้ำยุงลาย

86.00 9.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,560.00 0 0.00
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 1.ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานแก่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ 0 0.00 -
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 2.อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ 0 17,560.00 -
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 รณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย แหล่งเพาะพันธ์สัตว์และแมลงนำโรค และทำลายแหล่งรังโรคในชุมชน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ 2.มีบ้านตัวอย่างปลอดลูกน้ำยุงลายเกิดขึ้นในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2567 12:36 น.