กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเต่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเต่า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแพงพวย

นางสาธกา เพียรธัญกร และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแพงพวย และ (หมู่ 1 หมู่ 4 และ 10 ต.หนองเต่า อ.เก้าเลี้ยว จ.นว)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

 

60.00

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิดพื้นที่ ตำบลหนองเต่า เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 5 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก ดังนี้ คือ ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 5 รายพ.ศ. 2563 จำนวน 4 รายพ.ศ. 2564 จำนวน 2 รายพ.ศ. 2565 ไม่พบผู้ป่วย และ พ.ศ. 2566 จำนวน 6 ราย ดังนั้น เพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนัก ให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนคนในชุมชนที่สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

60.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,936
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมฟื้นฟูเรื่องการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับแกนนำเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมฟื้นฟูเรื่องการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับแกนนำเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมฟื้นฟูเรื่องการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับแกนนำเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 50 คนกับแกนนำเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 50 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดย เจ้าบ้าน อสม. ในทุกหมู่บ้านและ โดย ครูอนามัย โรงเรียน ผู้นำนักเรียน ในทุกโรงเรียน (ควบคุมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและบริเวณบ้านของตนเอง ทุก 7 วัน โดยสำรวจภาชนะกักเก็บน้ำ เศษวัสดุ มูลฝอย รวมถึงแหล่งที่เกิดจากธรรมชาติที่สามารถกักเก็บน้ำได้ กรณี ภาชนะที่มีน้ำให้ทำการป้องกัน เช่น การปิดฝาภาชนะ เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน กรณีแหล่งน้ำขังให้จัดการมีให้เกิดน้ำขัง และ ปรับสภาพแวดล้อมมิให้เกิดแหล่งน้ำขังในบ้าน เพื่อป้องกันมิให้ยุงลายวางไข่แพร่พันธุ์ได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อป้องกันมิให้ยุงลายวางไข่แพร่พันธุ์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ารรณรงค์ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
ารรณรงค์ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การรณรงค์ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย โดยสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายใส่ทรายอะเบท ทุกหมู่บ้าน ทุก 3 เดือน โดย อสม.,ผู้นำนักเรียน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อป้องกันมิให้ยุงลายวางไข่แพร่พันธุ์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สุ่มตรวจสอบคำความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (ค่า B1)

ชื่อกิจกรรม
สุ่มตรวจสอบคำความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (ค่า B1)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก (การสุ่มลูกน้ำยุงลาย) จำนวน 12 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข) สุ่มตรวจสอบคำความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (ค่า B1)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สุ่มตรวจสอบคำความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันมิให้ยุงลายวางไข่แพร่พันธุ์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 แกนนำเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้านควบคุมการระบาดด้วยการสำรวจและทำลายพันธุ์ยุงลาย ใส่ทรายอะเบท พ่นสารเคมี ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ควบคุมโรค 3 ครั้ง (ห่างกัน 0 3 10 วัน) และท้องทีที่มีการระบาด

ชื่อกิจกรรม
แกนนำเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้านควบคุมการระบาดด้วยการสำรวจและทำลายพันธุ์ยุงลาย ใส่ทรายอะเบท พ่นสารเคมี ในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ควบคุมโรค 3 ครั้ง (ห่างกัน 0 3 10 วัน) และท้องทีที่มีการระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นสารเคมีกำจัดยุงในสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมประชาชน เช่น วัด โรงเรียน เดือนละ 1 ครั้ง (ก.พ. ถึง ก.ย) งบประมาณ จำนวน 47,565.00 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นเงิน 3,200.00 บาท - ค่าเบี้ยเลี้ยง  เป็นเงิน 10,800.00 บาท - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 7,000.00 บาท - ค่าสัมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 2,400.00 บาท - ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 1,350.00 บาท - ค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นเงิน 12,000.00 บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 6,315.00 บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน 4,500.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
  2. ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47656.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,656.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2. ชุมชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน


>