กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี สุขภาพดีลดโรคหมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านคลองนุ้ย

1. นางสายจิตรอินทมา
2. นายสุรินทร์ ปานป้อง
3. นางเกาะติเหย๊าะ หมาดเส็น
4. นางดอลิเมาะ ทองเส็ม
5. นางไหมมู่หน๊ะเอียดฤทธิ์

หมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการทำประชาคมปัญหาสุขภาพของหมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย ต.ตะโหมด อ.ตะโหมดจ.พัทลุง พบว่าโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจากปัญหาสุขภาพดังกล่าว พบว่าในชุมชนมีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ต้องรับการบริการรักษาพยาบาลตลอดชีวิตสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว เป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างเพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี และเพื่อเหตุทางการค้าทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การรับประทานผักอาหารที่มีกากใยมาก อาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอและวิตามินซีสูง ซึ่งสามารถรับประทานได้จากผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษที่สามารถปลูกรับประทานเองได้ในครัวเรือน ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อและเป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน โดยเน้นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการบริโภคผัก และการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี 2. เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี
  2. มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชนไม่น้อยกว่า 10 แห่ง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการก่อนและหลังดำเนินโครงการ (ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจสารเคมีในเลือด)

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการก่อนและหลังดำเนินโครงการ (ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจสารเคมีในเลือด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด จำนวน 1 ชุด  เป็นเงิน 1,805 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี
  2. มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชนไม่น้อยกว่า 10 แห่ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1805.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการผักปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารเคมี จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการผักปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารเคมี จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียง  เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าแผ่นพับ จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 5 บาท    เป็นเงิน 200    บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.25 เมตร x 2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน 600    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี
  2. มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชนไม่น้อยกว่า 10 แห่ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน โดยปลูกผักหลากหลายครัวเรือนละ 3 ชนิด และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนผัก เพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยนกล้าผัก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน โดยปลูกผักหลากหลายครัวเรือนละ 3 ชนิด และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนผัก เพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยนกล้าผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • พริก จำนวน 200 ต้นๆละ 5 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท
  • มะเขือ จำนวน 200 ต้นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • กะหล่ำปลี จำนวน 200 ต้นๆละ 5 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดชนิด 50 กก 1 กระสอบ    เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ถุงซิป ล็อคใส ขนาด 25×38 ซ.ม. จำนวน 1 แพค  เป็นเงิน 170    บาท
  • ค่าจัดทำรายงานสรุปผลโครงการ  เป็นเงิน 200    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี
  2. มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชนไม่น้อยกว่า 10 แห่ง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5370.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,375.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมีการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมต่อวัน
2. กลุ่มเป้ายหมายปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน


>