กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปลูกผักข้างบ้าน ปลอดสารเคมี สุขภาพดีลดโรคหมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย
รหัสโครงการ 2567-L3328-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านคลองนุ้ย 1. นางสายจิตร อินทมา 2. นายสุรินทร์ ปานป้อง 3. นางเกาะติเหย๊าะ หมาดเส็น 4. นางดอลิเมาะ ทองเส็ม 5. นางไหมมู่หน๊ะ เอียดฤทธิ์
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 12,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสายจิตร อินทมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 12,375.00
รวมงบประมาณ 12,375.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการทำประชาคมปัญหาสุขภาพของหมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย ต.ตะโหมด อ.ตะโหมดจ.พัทลุง พบว่าโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจากปัญหาสุขภาพดังกล่าว พบว่าในชุมชนมีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ต้องรับการบริการรักษาพยาบาลตลอดชีวิตสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว เป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างเพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี และเพื่อเหตุทางการค้าทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การรับประทานผักอาหารที่มีกากใยมาก อาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอและวิตามินซีสูง ซึ่งสามารถรับประทานได้จากผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษที่สามารถปลูกรับประทานเองได้ในครัวเรือน ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อและเป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน โดยเน้นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการบริโภคผัก และการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี 2. เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี
  2. มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชนไม่น้อยกว่า 10 แห่ง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,375.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ตรวจสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการก่อนและหลังดำเนินโครงการ (ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจสารเคมีในเลือด) 0 1,805.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการผักปลอดสารพิษ การเลือกซื้อการปลูก การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารเคมี จำนวน 40 คน 0 5,200.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน โดยปลูกผักหลากหลายครัวเรือนละ 3 ชนิด และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนผัก เพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยนกล้าผัก 0 5,370.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมีการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมต่อวัน
  2. กลุ่มเป้ายหมายปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 10:16 น.