กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ชีวีเด่น เน้นที่ครอบครัว ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

-

ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 3. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น

 

50.00
2 4. เกิดการบูรณการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม

 

60.00
3 1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้า มีความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

 

50.00
4 2.ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้าพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนด

 

50.00

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกอบกับนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยยึดถือการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการครอบคลุมระดับสูงที่สุด และมีความต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากที่สุด จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบังจังหวัดยะลา ในรอบปี 2566 ปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิด( fully immunization ) คิดเป็นอัตราร้อยละ 85.19 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 87.50 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 88 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 83 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงกำหนดไว้ว่าเด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 90.00 ยกเว้นวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม (mmr) ร้อยละ 95
ในการนี้จึงต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบังจังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม ยังพบผู้ปกครองกลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้าที่ยังมีความเข้าใจเรื่องวัคซีนที่ผิดๆอยู่ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้า มีความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้า มีความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคร้อยละ 100

50.00 0.00
2 2. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้าพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนด

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้าพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนดร้อยละ 95

50.00 0.00
3 3. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น
  1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น ร้อยละ 90
50.00 0.00
4 4. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการรณรงค์การฉีดวัคซีน

ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการรณรงค์การฉีดวัคซีนครบเกณฑ์

60.00 0.00

3. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม จัดนิทรรศการ อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีเขตพื้นที่ ม.3 และ ม.6 ตำบลกาบัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม จัดนิทรรศการ อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีเขตพื้นที่ ม.3 และ ม.6 ตำบลกาบัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดนิทรรศการ อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีเขตพื้นที่ ม.3 และ ม.6 ตำบลกาบัง
จำนวน 120 คน แบ่งกิจกรรมเป็น 2 วัน     - ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 60 คน x 2 มื้อ x 2 วัน          เป็นเงิน  8,400   บาท     - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 70 บาท. X 2 วัน        เป็นเงิน  8,400   บาท     - ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆละ 300 x 2 วัน                  เป็นเงิน  3,000   บาท - ค่าจัดบูทนิทรรศการ
   - สื่อเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับเด็ก 0 – 1 ปี ขนาด 80 x 180 cm.
พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ป้าย                                เป็นเงิน  900     บาท    - สื่อเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับเด็ก 1 - 2 ปี ขนาด 80 x 180 cm.
พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ป้าย                               เป็นเงิน  900       บาท     - สื่อเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับเด็ก 2 - 3 ปี ขนาด 80 x 180 cm. พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ป้าย                              เป็นเงิน      900     บาท     -    สื่อเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับเด็ก 3 - 5 ปี ขนาด 80 x 180 cm. พร้อม ขาตั้ง จำนวน 1 ป้าย                                   เป็นเงิน      900     บาท -  สื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนในเด็กนักเรียน ขนาด 80 x 180 cm. พร้อม ขาตั้ง จำนวน 1 ป้าย                           เป็นเงิน      900       บาท - ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.5  X 3 ม.                    เป็นเงิน   1,125       บาท - ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 2 X 3 ม. จำนวน 2 ป้าย             เป็นเงิน   3,000       บาท                        รวมงบประมาณทั้งสิ้น 28,425 บาท (เงินสองหมื่นแปดพันสี่ร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้า มีความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ร้อยละ 100
  2. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้าพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนด    ร้อยละ 95
  3. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น ร้อยละ 90
  4. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการรณรงค์การฉีดวัคซีนครบเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28425.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,425.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>