กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ชีวีเด่น เน้นที่ครอบครัว ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 009/2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2567
งบประมาณ 28,425.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาลีเมาะเจ๊ะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 3. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น
50.00
2 4. เกิดการบูรณการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
60.00
3 1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้า มีความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
50.00
4 2.ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้าพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนด
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกอบกับนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยยึดถือการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการครอบคลุมระดับสูงที่สุด และมีความต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากที่สุด จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบังจังหวัดยะลา ในรอบปี 2566 ปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิด( fully immunization ) คิดเป็นอัตราร้อยละ 85.19 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 87.50 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 88 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 83 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงกำหนดไว้ว่าเด็ก0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 90.00 ยกเว้นวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม (mmr) ร้อยละ 95
ในการนี้จึงต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบังจังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม ยังพบผู้ปกครองกลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง กลุ่มรับวัคซีนล่าช้าที่ยังมีความเข้าใจเรื่องวัคซีนที่ผิดๆอยู่ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้า มีความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้า มีความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคร้อยละ 100

50.00 0.00
2 2. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้าพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนด

ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้าพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนดร้อยละ 95

50.00 0.00
3 3. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น
  1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กลุ่มปฏิเสธ กลุ่มบ่ายเบี่ยง และกลุ่มรับวัคซีนล่าช้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น ร้อยละ 90
50.00 0.00
4 4. ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการรณรงค์การฉีดวัคซีน

ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการรณรงค์การฉีดวัคซีนครบเกณฑ์

60.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,425.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม จัดนิทรรศการ อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปีเขตพื้นที่ ม.3 และ ม.6 ตำบลกาบัง 0 28,425.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 00:00 น.