กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คุ้มครองส่งเสริมผู้บริโภคด้านสาธารณสุขปี 2567ตำบลตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

หมู่บ้านในความรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

9.00
2 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

5.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

 

29.00

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้นจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ จึงได้ดำเนินการสำรวจผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหารและแผงลอยในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโตระ จำนวน ทั้งหมด 20 ร้าน ซึ่ง แต่ละปีจะมีการออกไปตรวจร้านให้ได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด พบว่าร้อยละ 80 ได้ถือปฏิบัติตามเกณฑ์ แต่ไม่ได้ 100 % จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองส่งเสริมผู้บริโภค ขึ้นมาเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ ร้านอาหารและแผงลอย เพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ประชาชนในตำบลตำนานได้บริโภคและอุปโภคอาหาร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

9.00 5.00
2 เพื่อลดคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

29.00 25.00
3 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

5.00 3.00

1. เพื่อให้ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพทุกร้าน
2. เพื่อให้ร้านอาหารและแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อยทุกร้าน
3. . เพื่อให้ภาคีเครือข่ายชมรม อสม.มีความรู้และสามารถตรวจสอบ เฝ้าระวัง อาหาร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านชำ ในเขตความรับผิดชอบ 16
ร้านอาหารและร้านแผงลอยในความรับผิดชอบ 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย ชมรม อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย ชมรม อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย ชมรม อสม. ในเขตรับผิดชอบ ของ รพ.สต.บ้านโตระ ได้มีความรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และติดตามเฝ้าระวัง และดูแลผู้ประกอบการต่าง ๆ ในตำบลตำนานให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข  โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมวิทยากรและผู้จัดอบรม จำนวน  100  คน  คนละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน  5,000  บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและผู้จัดอบรม จำนวน 100  คน  คนละ 1 มื้อๆละ 50 บาท    เป็นเงิน  5,000  บาท
3.ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย ชมรม อสม. ในเขตรับผิดชอบ ของ รพ.สต.บ้านโตระ ได้มีความรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และติดตามเฝ้าระวัง และดูแลผู้ประกอบการต่าง ๆ ในตำบลตำนานให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ตรวจร้านชำ ร้านอาหารและแผงลอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ตรวจร้านชำ ร้านอาหารและแผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจร้านชำคุณภาพตามเกณฑ์ โดยภาคีเครือข่าย อสม. และมอบป้ายความรู้เรื่องยา และเครื่องสำอางให้แก่ร้านชำทุกร้าน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปตามเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ  และ ตรวจร้านอาหารและร้านแผงลอยตามเกณฑ์ร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย เพื่อต่ออายุป้ายร้านที่ผ่านเกณฑ์ทุกร้านปีละครั้ง   โดยมีงบประมาณ ดังนี้
1.ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์สำหรับตรวจหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นเงิน 4,000 บาท รายละเอียด ดังนี้
- ชุดทดสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ(5 เทส/กล่อง) จำนวนเงิน 1,000 บาท
- ชุดทดสอบปรอทในเครื่องสำอาง(50 เทส/กล่อง) จำนวนเงิน 1,400 บาท
- ชุดทดสอบไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอาง(20 เทส/กล่อง) จำนวนเงิน 600 บาท
- ชุดทดสอบกรดเรทิโนอิกในเครื่องสำอาง(25 เทส/กล่อง) จำนวนเงิน 1,000 บาท
2.ค่าจ้างทำฟอร์มบอร์ด  ความรู้เรื่องยา และเครื่องสำอางให้แก่ร้านชำ
    ขนาดกว้าง 30.5 ซม. ยาว 46ซม. จำนวน 48 ชิ้นๆละ 80 บาท  เป็นเงิน 3,840 บาท

       รวนเงินทั้งสิ้น  7840  บาท
สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตรวจร้านชำคุณภาพตามเกณฑ์   โดยภาคีเครือข่าย อสม. และมอบป้ายความรู้เรื่องยา และเครื่องสำอางให้แก่ร้านชำทุกร้าน  จำนวน 16 ร้าน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปตามเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ  และ ตรวจร้านอาหารและร้านแผงลอยตามเกณฑ์ร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย   จำนวน 5 ร้าน เพื่อต่ออายุป้ายร้านที่ผ่านเกณฑ์ทุกร้านปีละครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,440.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลตำนานได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน
2.ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องอันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
3.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและเรียกร้องสิทธิ์ในการคุ้มครองกรณีถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการต่างๆได้ถูกต้องทันเวลา
4.ผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านแผงลอยและร้านชำ มีความรู้หลักสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง


>