กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหินผุดร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด

1.นางสุรัตนา ละเสม
2.นางสุชาดา สลับทอง
3.นายสมปอง จันสี
4.นางภิญโญ บุญรัตน์
5.นางสาวดาราวรรณ ทองขจร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียถึงชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียน แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและ ร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 18 มีนาคม 2567 โดยพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลคลองแห อัตราป่วยอยู่ที่ 231.68 ตำบลคลองอู่ตะเภา อัตราป่วยอยู่ที่ 170.3 ตำบลควนลัง อัตราป่วยอยู่ที่ 145.36 ตำบลบ้านพรุ อัตราป่วยอยู่ที่ 145.04 และตำบลทุ่งตำเสา อัตราป่วยอยู่ที่ 140.18 จะเห็นได้ว่า ตำบลทุ่งตำเสายังคงมีอัตราป่วยไข้เลือดออกที่สูงอยู่โดยพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด ได้แก่ บ้านโฮ๊ะ บ้านพรุชบา บ้านท่าหมอไชย และบ้านวังพา ก็ยังเป็นพื้นทีที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2564-2566 โดยปี 2564 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 12 ราย ปี 2565 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 23 รายและปี 2566 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 35 ราย การระบาดของโรค ไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม– พฤศจิกายนของทุกปี
ดังนั้น ทางชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำ โครงการหินผุดร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และเป็นการเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในครัวเรือและชุมชนของตนเอง
  1. ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในครัวเรือและชุมชนของตนเอง
0.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  1. อัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีก่อนหน้า (ปี2566)
0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนร่วมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และเกิดพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในชุมชน
  1. ค่าดัชนีการสำรวจลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน (HI) ต้องมีค่าไม่เกินร้อยละ 10
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/10/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ จำนวน 20 คน  (มื้อละ 25 บาท x 1 มื้อ x  20คน) เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในบ้าน ชุมชน และโรงเรียนทุกเดือนพร้อมแจกแผ่นพับทรายอะเบด และมอบโลโก้บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในบ้าน ชุมชน และโรงเรียนทุกเดือนพร้อมแจกแผ่นพับทรายอะเบด และมอบโลโก้บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย(น้ำเปล่า 5 บาท) (อสม. 105 คน x 26 สัปดาห์) เป็นเงิน 13,650 บาท -ทรายอะเบด (ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา) -ค่าแผ่นพับ 500 แผ่น (ขนาด A4 แผ่นละ 11 บาท) เป็นเงิน 5,500บาท -ค่าโลโก้บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย (เคลือบกันน้ำ กันแดด) ดวงละ 8 บาท (ขนาด 15 x 15 จำนวน 1,629 ดวง) เป็นเงิน 13,032 บาท -เชือกว่าว 1 โหล 12 ม้วน ราคา 179 (หมู่ละ 1 โหล x 4 หมู่)
เป็นเงิน 716 บาท รวมเป็นเงิน 32,898 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32898.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 1 ผืน (ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร x1 ผืน) เป็นเงิน 432 บาท -ค่าป้ายโฟมบอร์ดรณรงค์ไข้เลือดออก 5 ชิ้น (ชิ้นละ 600 x ขนาด 40*70 ซม. x 5 ชิ้น) เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์(น้ำเปล่า 5 บาท) หมู่ที่ 5 จำนวน 129 คน (คิดเป็น 645 บาทx 6 เดือน) เป็นเงิน 3,870 บาท -ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์(น้ำเปล่า 5 บาท)  หมู่ที่ 7 จุดที่ 1 จำนวน 47 คน (คิดเป็น 235 บาทx 6 เดือน) เป็นเงิน 1,410 บาท -ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์(น้ำเปล่า 5 บาท)  หมู่ที่ 7 จุดที่ 2 จำนวน 48 คน (คิดเป็น 240 บาทx 6 เดือน) เป็นเงิน 1,440 บาท -ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์(น้ำเปล่า 5 บาท)  หมู่ที่ 8 จำนวน 43 คน (คิดเป็น 215 บาท x 6 เดือน) เป็นเงิน 1,290 บาท -ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์(น้ำเปล่า 5 บาท)  หมู่ที่ 9 จุดที่ 1 จำนวน 45 คน (คิดเป็น225 บาท x 6 เดือน) เป็นเงิน 1,350 บาท -ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมรณรงค์(น้ำเปล่า 5 บาท)  หมู่ที่ 9 จุดที่ 2 จำนวน 45 คน (คิดเป็น225 บาท x 6 เดือน) เป็นเงิน 1,350 บาท -ค่าถุงมือ 4 หมู่ หมู่ละ 1 กล่อง (4 กล่อง x 6 เดือน = 24 กล่อง) กล่องละ 85 บาท เป็นเงิน 2,040 บาท -ค่าถุงดำขนาด 30×40 จำนวน 4 หมู่บ้าน  6 จุดรณรงค์ (6 แพ็ค× 6 เดือน= 36 แพ็ค) แพ็คละ 49 บาท เป็นเงิน 1,764 บาท -ที่คีบขยะ 20 อัน อันละ 25 บาท
เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 18,446 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18446.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,844.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
2.อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก ลดลงจากปีก่อนหน้า (2566)
3. ค่าดัชนีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย (ค่าHI) (ค่าเฉลี่ยต่อปี) ลดลงจากปีก่อน


>