กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลอดขยะ Zero Waste School ของโรงเรียนวชิรธรรมสถิต ตำบลตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงเรียนวชิรธรรมสถิต

โรงเรียนวชิรธรรมสถิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

20.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

45.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

50.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

75.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

60.00
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

2.00
7 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

20.00

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข โดยเฉพาะขยะที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงเรียนพบเจอกับปัญหาขยะ ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่สะอาด และอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคทางผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร โรคทางการหายใจจากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง สาเหตุและที่มาของขยะเกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสํานึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียน เช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลาย ๆ ถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมาก สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในการปูพื้นฐาน และปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสํานึกมีจิตสาธารณะรักและหวงแหนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตนเอง รู้จักการคัดแยกขยะสามารถนําความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อชุมชนเพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดําเนินงานโครงการปลอดขยะ (Zero Waste School) เพื่อเผยแพร่แก่โรงเรียน และชุมชนให้เกิดโรงเรียนและชุมชนปลอดขยะ โรงเรียนวชิรธรรมสถิตได้เห็นถึงความสำคัญจึงได้กําหนดให้โรงเรียนวชิรธรรมสถิตเป็นสถานศึกษาที่ปลอดขยะ เพื่อส่งเสริมดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ โดยการจัดทำธนาคารขยะเพื่อการรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกําจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสํานึกการลด คัดแยก และนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายใน สถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริงและขยายผลต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิลต่อไป
โรงเรียนวชิรธรรมสถิต จึงดำเนินโครงการโรงเรียนธนาคารขยะ Zero Waste School ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้น และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

20.00 25.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

45.00 70.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

2.00 2.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

50.00 60.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

60.00 65.00
6 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

20.00 25.00
7 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

75.00 80.00

1 เพื่ออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวการคัดแยกขยะ และเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากขยะในสถานศึกษา
2 เพื่อให้นักเรียนได้ดำเนินการจัดการขยะในสถานศึกษา
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในสถานศึกษา
4 เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับนักเรียน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและเชื้อโรคที่เกิดจากขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและเชื้อโรคที่เกิดจากขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและเชื้อโรคที่เกิดจากขยะ  ให้กับนักเรียน  จำนวน 150 คน  โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 500 บาท                เป็นเงิน  1,500  บาท
2.ค่าอาหารว่าง จำนวนผู้เข้าอบรม 150 คน ๆ ละ 25 บาท                        เป็นเงิน  3,750 บาท
3.  ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร                                     เป็นเงิน     450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและเชื้อโรคที่เกิดจากขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม จัดการขยะ โดยใช้กิจกรรม 3Rs

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม จัดการขยะ โดยใช้กิจกรรม 3Rs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม  จัดการขยะ โดยใช้กิจกรรม 3Rs  โดยมีงบประมาณ ดังนี้
1.ค่าป้ายนิเทศ ขนาด 1 x 1.2 เมตร                                                                                        เป็นเงิน        600 บาท
2.ค่าถังขยะแยกประเภทและโครงเหล็กสำหรับวางถังขยะ 2 ชุด ๆละ 5000  บาท ( 1 ชุดมี4 ใบ )   เป็นเงิน   10,000 บาท
3.ค่าซ่อมแซมตะแกรงเหล็กสำหรับใส่ขวดพลาสติก 100 บาท  x 2 อัน                                       เป็นเงิน        200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมการคัดแยกขยะในโรงเรียน   มีการจัดการขยะ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และ มีการจัดตั้งธนาคารขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,500.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่เกิดจากขยะ
2. สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในสถานศึกษา
3. สามารถสร้างรายได้ให้กับนักเรียน
4. นักเรียนมีจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษามากขึ้น


>