กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลอดขยะ Zero Waste School ของโรงเรียนวชิรธรรมสถิต ตำบลตำนาน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวชิรธรรมสถิต
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 16,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยุทธนา ขำเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุมาลา แดงปก
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนวชิรธรรมสถิต
ละติจูด-ลองจิจูด 7.548048,100.089551place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 30 มิ.ย. 2567 5,700.00
2 1 มิ.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 10,800.00
รวมงบประมาณ 16,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน
20.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
45.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า
50.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า
75.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
60.00
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
2.00
7 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข โดยเฉพาะขยะที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงเรียนพบเจอกับปัญหาขยะ ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่สะอาด และอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคทางผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร โรคทางการหายใจจากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง สาเหตุและที่มาของขยะเกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสํานึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียน เช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลาย ๆ ถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมาก สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในการปูพื้นฐาน และปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสํานึกมีจิตสาธารณะรักและหวงแหนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตนเอง รู้จักการคัดแยกขยะสามารถนําความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อชุมชนเพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดําเนินงานโครงการปลอดขยะ (Zero Waste School) เพื่อเผยแพร่แก่โรงเรียน และชุมชนให้เกิดโรงเรียนและชุมชนปลอดขยะ โรงเรียนวชิรธรรมสถิตได้เห็นถึงความสำคัญจึงได้กําหนดให้โรงเรียนวชิรธรรมสถิตเป็นสถานศึกษาที่ปลอดขยะ เพื่อส่งเสริมดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ โดยการจัดทำธนาคารขยะเพื่อการรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกําจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสํานึกการลด คัดแยก และนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายใน สถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริงและขยายผลต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิลต่อไป โรงเรียนวชิรธรรมสถิต จึงดำเนินโครงการโรงเรียนธนาคารขยะ Zero Waste School ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้น และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

20.00 25.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

45.00 70.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

2.00 2.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

50.00 60.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

60.00 65.00
6 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

20.00 25.00
7 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

75.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,500.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและเชื้อโรคที่เกิดจากขยะ 0 5,700.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม จัดการขยะ โดยใช้กิจกรรม 3Rs 0 10,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่เกิดจากขยะ
  2. สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในสถานศึกษา
  3. สามารถสร้างรายได้ให้กับนักเรียน
  4. นักเรียนมีจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษามากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2567 19:37 น.