กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สุขภาพดี ชีวีมีสุข ของ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านทุ่งลาน ตำบลตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

ชมรม อสม. รพงสต.บ้านทุ่งลาน

1.นางบุญศรีสุขรัตน์

2 นางนันทิภาหนูอักษร

3 นางอุ่นใจก้งเส้งวั่น

4 นางนพวรรณเอียดรอด

5 นางวันดีจันทวิเศษ

หมู่บ้านในความรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

30.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

15.00
3 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

35.00
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

45.00

กระทรวงสาธารณสุขกำหนดประเด็นการส่งเสริมสุขภาพเพื่อดำเนินการผ่าน 2 นโยบายหลักสำคัญคือ 1) สุขภาพดีวิถีใหม่ : คนไทยรอบรู้ดี สุขภาพดี อารมณ์ดี โดยวางเป้าหมายให้ครอบครัวไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างน้อย5 ล้านครอบครัว มุ่งเน้นใน 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ประชาชนมีความรอบรู้ในเรื่องการจัดการพฤติกรรมตนเองใน 3 ด้านคือการออกกำลังกาย การเลือกบริโภคอาหาร และการจัดการอารมณ์ตนเอง สำหรับส่วนที่ 2 คือ การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยเน้นอาหารปลอดภัยทั้งในสถานประกอบการประเภทสตรีทฟู้ดและตลาดนัด ซึ่งเป็นแหล่งที่ประชาชนเลือกซื้อสินค้าบริโภคเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยควบคู่กับการสร้างความเข้าใจด้านสุขอนามัยให้กับผู้บริโภค
"นโยบายที่ 2 คือ ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม : ดูแลสุขภาพกลุ่มวัยอย่างเป็นระบบมุ่งเน้นสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุโดยปีนี้กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นที่เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงต้นของชีวิต โดยเฉพาะช่วง 1,000 วันแรกที่จะกระตุ้นด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโต ซึ่งต้องอาศัยการจัดการโดยชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐานมีการสร้างพื้นที่เล่นให้เด็ก เพราะหากเด็กมีความพร้อมสมบูรณ์จะส่งต่อสู่ช่วงวัยอื่นอย่างมีคุณภาพ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีประมาณ 12 ล้านคน และประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วนั้น การดำเนินงานเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุขต้องร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสุขภาพ สวัสดิการสังคม และพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาการติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มผู้สูงอายุให้น้อยลง" องค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเป็นต้น
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งลาน จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีชีวีมีสุขผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน และให้ระชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการเกี่ยวการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ที่ครอบคลุมเกี่ยวการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

15.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

45.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

30.00 35.00
4 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

35.00 20.00

1.เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน

2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรค

3.เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 5
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 5
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม สุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยการอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยการอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ บรรยายให้ความรู้การควบคุม พัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง  โดยมีงบประมาณ ดังนี้
1.ค่าวิทยากร 4 ชม. ชม.ละ 600 บาท                                                                                        เป็นเงิน  2,400 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 55 คน x 25บาท x 2 มื้อ     เป็นเงิน   2,750 บาท
3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 55 คน x 50 บาท x 1 มื้อ                 เป็นเงิน   2,750 บาท

                                                                                                                                            รวมเป็นเงิน   7,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับ การควบคุม พัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง  จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค  ด้วยการสาธิตการทำอาหารปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ เช่น แกงเลียง ผักปลอดสารพิษ สลัดผัก ขนมหวาน   โดยมีงบประมาณ ดังนี้
1.ค่าวิทยากร 4 ชม. ชม.ละ 600 บาท                                                                                 เป็นเงิน    2,400 บาท
2.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าอบรมและคณะทำงานจำนวน 55 คน x 25บาท x 2 มื้อ                 เป็นเงิน    2,750 บาท 3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 55 คน x 50 บาท x 1 มื้อ         เป็นเงิน   2,750 บาท

                                                                                                                                    รวมเป็นเงิน 7,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน ได้รับการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค  ด้วยการสาธิตการทำอาหารปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  เพื่อให้ผู้ได้รับการอบรม ได้เรียนรู้การกระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลาย ไม่เครียด เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวิถีพอเพียง และการป้องกันสุขภาพ   โดยมีงบประมาณ ดังนี้
1.ค่าวิทยากร 4 ชม. ชม.ละ 600 บาท                                                                                                    เป็นเงิน    2,400 บาท

2.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าอบรมและคณะทำงานจำนวน 55 คน x 25บาท x 2 มื้อ                                     เป็นเงิน 2,750 บาท

3.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน จำนวน 55 คน x 50 บาท x 1 มื้อ                             เป็นเงิน 2,750 บาท

                                                                                                                                                   รวมเป็นเงิน 7,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ได้รับการอบรม จำนวน 50 คน ได้เรียนรู้การกระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลาย ไม่เครียด เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวิถีพอเพียง และการป้องกันสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,700.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ

2.ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น

3.ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้


>