กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมพลัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖๗

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

หมู่ที่ 2,4,5 ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อแสนประชากร

 

50.91

ปัญหาไข้เลือดออกที่เป็นปัญหาเรื้อรังในชุมชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสุขภาพเศรษฐกิจ และด้านสังคมที่เกิดจาก การขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมไข้เลือดออกจากภาคสังคมอื่นๆและชีวะนิสัยของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคของโรคไข้เลือดออกรวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรค หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่ดีก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นและจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว สำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปี ระบาด 2567 อำเภอศรีบรรพต มีผู้ป่วยจำนวน 2 ราย มีอัตราการป่วย43.20 ต่อประชากรแสนคน(ข้อมูล 1 มกราคม ถึง 01 เมษายน 2567) เป็นผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน จำนวน1ราย คิดเป็นอัตราป่วย 50.91 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน และ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตะแพน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมพลัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกพื้นที่ รพ.สต. ตะแพน ปี 2567 ขึ้นเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์และดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

50.90 0.00
2 เพื่อควบคุม ป้องกัน และลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

. การสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย     1.1 ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบมีค่า HI น้อยกว่า 10     1.2 โรงเรียน วัด  รพ.สต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบมีค่า CI เท่ากับ 0

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/06/2024

กำหนดเสร็จ 13/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมแกนนำชุมชน ในการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 50 คน     (ในวันที่ 14 มิถุนายน  2567 )   โดยใช้งบประมาณจำนวน  7,300 บาท (เจ็ดพันสามร้อยบาทถ้วน)เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้
1. อาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม  50 คน x 60 บาท                   เป็นเงิน  3,000 บาท 2. อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม 50 คน x 2 มื้อ x 25 บาท  เป็นเงิน  2,500 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากร                        6 ชั่วโมง x 300 บาท     เป็นเงิน  1,800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2567 ถึง 14 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำชุมนมีความรู้ ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก   1. ดำเนินการพ่นหมอกควันในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนโรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก เพื่อทำลายยุงตัวแก่
  2. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับแกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยวิธีทางกายภาพ ทางเคมี(แจกทรายทีโมฟอส)แก่ครัวเรือนและทางชีวภาพ ทุกเดือน 3. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ 4. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค โดยใช้งบประมาณเป็นเงิน  5,900 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 4 ครั้ง x 59 คน(อสม.) x ๒๕ บาท เป็นเงิน 5,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบมีค่า HI น้อยกว่า 10 2 โรงเรียน วัด  รพ.สต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบมีค่า CI เท่ากับ 0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกตลอดจนให้ความร่วมมือในการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบริเวณบ้านและมีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ทั้งที่บ้านเรือน และชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และการเฝ้าระวังโรคระบาด และควบคุมโรคในพื้นที่ โดยเครือข่าย SRRT ตำบลตะแพน และอสม.


>