2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เด็กเล็ก เป็นวัยที่มีความซุกซน เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาสติปัญญาและความคิดจะมีความเป็นอิสระ แปรเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นใกล้ตัวและลอกเลียนแบบตามแนวความคิดของตน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครูผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดับเด็กเล็กโดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รู้จักรับผิดชอบ รักเด็กอุปนิสัยอ่อนโยนจิตใจโอบอ้อมอารี มีความยุติธรรมมีลักษณะเป็นผู้นำ เพื่อจะให้การดูแลเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานความคิดลักษณะนิสัยที่ดีแก่เด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนการวางรากฐานของประเทศในช่วง 5 ปี แรกของเด็กเล็กเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เนื่่องจากสมองและพัฒนาการจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 60 นาทีต่อวัน ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยต้องมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับเด็กไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เมื่อศึกษาถึงต้นตอของปัญหา อาจกล่าวได้ว่าเหตุผลสำคัญที่มีส่วนทำให้เด็กไทยมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอนั้น เนื่องมาจากวิถีชีวิต การเรียน และรูปแบบการเล่นของเด็กเปลี่ยนไปจากอดีต จากเดิมเด็กคือ ใช้เวลาว่างออกไปเล่นกับเพื่อนเปลี่ยนเป็นการใช้เวลาว่างหมดไปกับหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ จากการสำรวจเด็กนักเรียน ปี 2566 จำนวน 37 คน พบเด็กที่ภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 8.19 และพบเด็กที่ภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.41 ส่วนใหญ่ผู้ปกครอง รวมทั้งเด็กยังขาดความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ทำให้เด็กบางคนมีภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง จึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและการเคลื่อนไหวทางกายในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง ด้วยหลัก 3 อ.(อาหาร ออกำลังกาย อารมณ์) ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารส่งเสริมสุขภาพออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและมีอารมณ์แจ่มใสตามวัยทั้งนี้การแก้ไขปัญหาโภชนาการในเด็กเพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการพัฒนาการที่สมวัย สนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในเด็ก ทังนี้จะต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมถึงหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้การดำเนินประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/06/2024
กำหนดเสร็จ 31/12/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?- เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
- เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการและพัฒนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น