กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารสะอาด นักเรียนปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงเรียนบ้านบ่อทราย

1.นางสาววีระวรรณทองปันแต
2.นายสิทธิโชคทองคง
3.นางชื่นจิต สมานุภาวิน
4.นายเจะอิมรอน เจะแวมาแจ
5.นายปริญญาสนธิวงศ์

โรงเรียนบ้านบ่อทราย หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงอาหารเป็นสถานที่ประกอบอาหารไว้สำหรับบริโภค อาหารจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการบริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกาย เจริญเติบโตและสามารถดำรงชีวิตอยู่โดย ปกติสุขในการบริโภคอาหารสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณา คือ ความสะอาด ความปลอดภัย ปราศจากเชื้อ โรคและสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายหรืออาจเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย สุขภาพ อนามัย และการดำรงชีวิตของผู้บริโภค การบริโภคที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารจึงไม่หมายความเพียงแต่ บริโภคเข้าไปแล้ว ไม่ก่อให้เกิดโรคหรือโทษในระยะเวลาปัจจุบันเท่านั้น ยังหมายถึงจะต้องไม่มีพิษภัยที่ เป็นโทษหรือก่อให้เกิดโรคในระยะยาวหรือในอนาคตอีกด้วย การจัดการและการควบคุมอาหารให้ สะอาดทำได้โดยการจัดการและการควบคุมปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารสกปรก รวมไปถึง สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงอาหารต้องสะอาดและถูกสุขลักษณะ โต๊ะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องอยู่ในสภาพดีและปลอดภัย จากสภาพปัจจุบันโรงอาหารของโรงเรียนมีสภาพทรุดโทรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหารให้ ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ถูกสุขลักษณะ สะดวก ปลอดภัย รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการปฎิบัติตนมีมารยาทการรับประทานอาหารและความรู้ในอาหารหลัก 5 หมู่แก่นักเรียนอย่างทั่วถึง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยและมารยาทในการใช้โรงอาหารแก่นักเรียน

ผู้ใช้บริการหรือเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการบริการของโรงอาหาร

90.00 90.00
2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยและมารยาทในการใช้โรงอาหารแก่นักเรียน

นักเรียนที่ใช้บริการของโรงอาหารเกิดความปลอดภัย และมีสุขอนามัยที่ดี

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมนักเรียน เรื่องสุขลักษณะและโภชนาการที่เหมาะสมกับวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมนักเรียน เรื่องสุขลักษณะและโภชนาการที่เหมาะสมกับวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท    รวมเป็นเงิน  3,600 บาท -  ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ   รวมเป็นเงิน     3,000 บาท -  ค่าป้ายไวนิล 1 ผืน ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร        รวมเป็นเงิน      432 บาท -  ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ประกอบการอบรมโครงการฯ      รวมเป็นเงิน      968 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่ใช้บริการของโรงอาหารเกิดความปลอดภัย มีความรู้ และมีสุขอนามัยที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำป้ายให้ความรู้เรื่องสุขลักษณะในการรับประทานอาหาร

ชื่อกิจกรรม
จัดทำป้ายให้ความรู้เรื่องสุขลักษณะในการรับประทานอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ป้ายขนาด 90 เซนติเมตร x 120 เซนติเมตร จำนวน 2 ป้ายๆ ละ 300 บาท รวมเป็นเงิน  600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความตระหนักถึงมารยาทในการใช้โรงอาหาร และปฎิบัติตนอย่างมีวินัยต่อส่วนรวม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำป้ายส่งเสริมระเบียบวินัยและมารยาทในการใช้โรงอาหาร และป้ายความรู้อาหารหลัก 5 หมู่ และความรู้เรื่องโภชนาการนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำป้ายส่งเสริมระเบียบวินัยและมารยาทในการใช้โรงอาหาร และป้ายความรู้อาหารหลัก 5 หมู่ และความรู้เรื่องโภชนาการนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ป้ายขนาด 3.20 เมตร x 0.70 เมตร จำนวน 10 ป้ายๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน   6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่ใช้บริการของโรงอาหารเกิดความปลอดภัย และมีสุขอนามัยที่ดี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการส่งเสริมสุขลักษณะแม่ครัวและโรงอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการส่งเสริมสุขลักษณะแม่ครัวและโรงอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  หมวก จำนวน 10 ใบๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน   500 บาท -  ผ้ากันเปื้อนพร้อมสกรีนข้อความ จำนวน 10 ผืนๆ ละ 150 บาท  รวมเป็นเงิน     1,500 บาท -  ถุงดำ จำนวน 20 ชุดๆ ละ 75 บาท  รวมเป็นเงิน   1,500 บาท   
-  ถังขยะ จำนวน 4 ถังๆ ละ 250 บาท รวมเป็นเงิน   1,000 บาท -  จัดซื้อวัสดุสำหรับส่งเสริมสุขลักษณะในการรับประทานอาหาร เช่น สบู่เหลวล้างมือ ฯลฯ  รวมเป็นเงิน  1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่ใช้บริการของโรงอาหารเกิดความปลอดภัย และมีสุขอนามัยที่ดี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :
****ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม****

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความตระหนักถึงมารยาทในการใช้โรงอาหาร และปฎิบัติตนอย่างมีวินัยต่อส่วนรวม
2.แม่ครัวและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขลักษณะที่ดีในการประกอบอาหารและรับประทานอาหาร
3.นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่และโภชนาการในวัยเรียน


>