กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลลุโบะสาวอ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมที่มีพัฒนาการสมวัย การสาธารณสุขของประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถลดโรคที่เป็นปัญหา สาธารณสุขในอดีตได้มากขึ้นสามารถดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้มากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาด้านการส่งเสริม สุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเป้าหมายสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาสุขภาพของประชาชนไทยยังไม่หมดไป หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรงเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้เกิดความพิการและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ บิดา มารดา และครอบครัว คือ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างประสบการณ์ต่างๆให้แก่เด็ก หากบิดา มารดา และครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็ก
จากการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวออำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 42.45 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 49.33 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 27.69 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 50.57 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ว่าเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 95.00การเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอประจำงวดที่ 4 ปีงบประมาณ 2566 เด็กอายุ 0-72 เดือน จำนวน 495 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 476 คน คิดเป็นร้อยละ 96.16 พบว่า เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุร้อยละ 89.08 เด็กมีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุร้อยละ 68.91 เด็กมีส่วนสูงสูงดีสมส่วนร้อยละ63.03เด็กมีภาวะเตี้ยร้อยละ 16.60 เด็กมีน้ำหนักภาวะผอมร้อยละ 1.89 เด็กที่น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ร้อยละ 0.63 ซึ่งเด็กอายุ 0-72 เดือน สูงดีสมส่วนต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การทำกิจกรรม การสร้างภูมิต้านทานโรค และสติปัญญา นั่นคือเด็กจะขาดประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ มีโอกาสเจ็บป่วยบ่อยหรือเป็นนาน ความสามารถในการเรียนรู้บกพร่อง บิดา มารดา และครอบครัว คือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กได้
ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวออำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม ผู้ปกครองทุกกลุ่มวัยต้องมีความรู้ความเข้าใจทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน และไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนร้อยละของเด็กเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน และไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

0.00 95.00
2 ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีความรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ และเด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

จำนวนร้อยละผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ที่มีความรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ และเด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

0.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 130
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี  เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23500.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตอาหารแก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ เรื่องการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย

ชื่อกิจกรรม
สาธิตอาหารแก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ เรื่องการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตอาหารแก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ เรื่องการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2567 ถึง 4 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และเด็กได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
2. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้และให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขภาวะทุพโภชนาการและเด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 90


>