กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลลุโบะสาวอ ปี 2567
รหัสโครงการ L6959-2567-1-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 32,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฟารีดะห์ ฮาแวมาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี และการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมที่มีพัฒนาการสมวัย การสาธารณสุขของประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถลดโรคที่เป็นปัญหา สาธารณสุขในอดีตได้มากขึ้นสามารถดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยได้มากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาด้านการส่งเสริม สุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเป้าหมายสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาสุขภาพของประชาชนไทยยังไม่หมดไป หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรงเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้เกิดความพิการและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ บิดา มารดา และครอบครัว คือ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างประสบการณ์ต่างๆให้แก่เด็ก หากบิดา มารดา และครอบครัวขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็ก จากการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวออำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า เด็กอายุครบ 1 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 42.45 เด็กอายุครบ 2 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 49.33 เด็กอายุครบ 3 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 27.69 และเด็กอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 50.57 ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ว่าเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 95.00การเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอประจำงวดที่ 4 ปีงบประมาณ 2566 เด็กอายุ 0-72 เดือน จำนวน 495 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 476 คน คิดเป็นร้อยละ 96.16 พบว่า เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุร้อยละ 89.08 เด็กมีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุร้อยละ 68.91 เด็กมีส่วนสูงสูงดีสมส่วนร้อยละ63.03เด็กมีภาวะเตี้ยร้อยละ 16.60 เด็กมีน้ำหนักภาวะผอมร้อยละ 1.89 เด็กที่น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ร้อยละ 0.63 ซึ่งเด็กอายุ 0-72 เดือน สูงดีสมส่วนต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การทำกิจกรรม การสร้างภูมิต้านทานโรค และสติปัญญา นั่นคือเด็กจะขาดประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ มีโอกาสเจ็บป่วยบ่อยหรือเป็นนาน ความสามารถในการเรียนรู้บกพร่อง บิดา มารดา และครอบครัว คือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กได้ ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวออำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุม ผู้ปกครองทุกกลุ่มวัยต้องมีความรู้ความเข้าใจทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน และไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

จำนวนร้อยละของเด็กเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน และไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

0.00 95.00
2 ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีความรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ และเด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

จำนวนร้อยละผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ที่มีความรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขภาวะทุพโภชนาการ และเด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

0.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,800.00 0 0.00
6 - 7 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก 0-5ปี เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย 0 23,500.00 -
4 ก.ค. 67 สาธิตอาหารแก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ เรื่องการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย 0 9,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และเด็กได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
  2. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้และให้ความร่วมมือ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขภาวะทุพโภชนาการและเด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 12:21 น.