กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสำหรับพนักงานเทศบาลตำบลปริก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปริก

เทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง (กรมควบคุมโรค, 2562) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน
เทศบาลตำบลปริก ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 6 คน สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน พนักงานเทศบาลจำนวน92 คน จำแนกเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 23คน ข้าราชการครู จำนวน 19 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน พนักงานจ้าง จำนวน 45 จากผลการตรวจสุขภาพของพนักงานเทศบาลตำบลปริกปี 2566 จำนวน 41 คน พบว่ามีระดับโคเลสเตอรอลสูง จำนวน 30 คน คิดเป็น ร้อยละ 73.17 น้ำตาลในเลือดสูง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.20 ดัชนีมวลกายเกิน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.20 จากผลตรวจสุขภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพนักงานเทศบาลตำบลปริก มีแนวโน้มและภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต
เทศบาลตำบลปริกได้ให้ความสำคัญนโยบายข้อที่ 2 ด้านการจัดการสุ¬ขภาวะ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ข้อที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และข้อที่ 17 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปริกมีสุขภาพที่ดี อันเป็นจุดเริ่มต้นให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีในทุกๆด้าน ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปริก ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของพนักงานเทศบาลตำบลปริก และให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค จึงได้จัดทำโครงการส่งเสิรมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสำหรับพนักงานเทศบาลตำบลปริก เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เป็นบุคลากรที่มีสุขภาพที่ดีและสามารถเป็นต้นแบบด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลปริกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมให้แก่พนักงานเทศบาลตำบลปริก

พนักงานเทศบาลตำบลปริกเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังของพนักงานเทศบาลตำบลปริก

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

1 พนักงาน กลุ่มปกติไม่มีภาวะเสี่ยง (ขนาดรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต มวลไขมัน) เพิ่มขึ้น
2 พนักงานกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการกินที่ลดความเสี่ยง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และมีภาวะเสี่ยง(ขนาดรอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต มวลไขมัน) ลดลง

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

1.พนักงานเทศบาลตำบลปริกมีพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พลใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
พลใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อนเริ่มโครงการ ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงวัดรอบเอว วัดระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต บันทึกในแบบบันทึกสุขภาพ

1.2 กิจกรรม “สำรวจตัวเอง ” โดย ให้พนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรมใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ประเมินสุขภาพตนเองว่าอยู่ในกลุ่มใด และจำแนกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ได้แก่

  • ประเมินดัชนีมวลกาย

  • ประเมินขนาดรอบเอว

  • ประเมินระดับน้ำตาลในเลือด

  • ประเมินค่าความดันโลหิต

  • ประเมินมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมัน

1.3 กิจกรรมอบรม หัวข้อ กิน อยู่อย่างไรให้ไกลโรค โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลสะเดา


- เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลวัดมวลไขมันและมวลกล้ามเนื้อ จำนวน 1 เครื่อง

เป็นเงิน 4,000 บาท

  • ที่วัดส่วนสูง

เป็นเงิน500 บาท

  • สายวัดรอบเอว

เป็นเงิน 300 บาท

  • อุปกรณ์ตรวจน้ำตาลในเลือด(ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2 ครั้ง ก่อนและหลังดำเนินการโครงการ)

เป็นเงิน 10,000 บาท

  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x2 ชั่วโมง

เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท

เป็นเงิน 2,500 บาท

  • กระดาษA4

เป็นเงิน 1,000บาท

  • วัสดุอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน20,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2567 ถึง 3 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20500.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามตรวจสุขภาพพนักงานเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจสุขภาพพนักงานเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมออกกำลังกายต้านโรคทุกวันพุธ เวลา 16.30 น.-17.30 น.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมออกกำลังกายต้านโรคทุกวันพุธ เวลา 16.30 น.-17.30 น.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจสุขภาพและประเมินสุขภาพ หลังจากเข้าร่วมโครงการ ถอดบทเรียนแบ่งปันประสบการณ์ และมอบเกียรติบัตรให้แก่พนักงานที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพและประเมินสุขภาพ หลังจากเข้าร่วมโครงการ ถอดบทเรียนแบ่งปันประสบการณ์ และมอบเกียรติบัตรให้แก่พนักงานที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท
    เป็นเงิน 2,500 บาท

  • วัสดุอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.พนักงานเทศบาลตำบลปริกเป็นบุคลากรที่มีสุขภาพที่ดีและเป็นต้นแบบให้แก่ประชาชน
2.พนักงานเทศบาลตำบลปริกมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพและจัดการสุขภาพด้วยตนเอง


>