กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.น้อยควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

คณะกรรมการชุมชนในบ้าน

1. นายธนากรสุโส๊ะ
2. นางสาวยุภาหีมปอง
3. นางสาวปราณีหยีปอง
4. นางสาววีณาลาทัพ
5. นางสาวญาดา ลาทัพ

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารสุขที่ส่งผลต่อความสูญเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งมีผลกระทบต่อความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้แก่เยาวชนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหาซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญพร้อมช่วยกันดูแลและกระตุ้นเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง
ดังนั้นชุมชนในบ้าน ได้เล็งถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการโครงการ อสม.น้อย ควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567เพื่อให้ชุมชนได้เห็นถึงบทบาทของทุกคนรวมไปถึงเยาวชนในชุมชนในการมีส่วนร่วมกันในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการควบคุมป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะการควบคุม ป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน ร้อยละ80 ใช้วิธีประเมินจากการตอบคำถามต่างๆที่เกี่ยวข้อง

100.00 100.00
2 2.เพื่อให้เยาวชนสามารถทำงานร่วมกับ อสม. ในการควบคุมป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน

เยาวชนสามารถทำงานร่วมกับ อสม. ในการควบคุมป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน  ร้อยละ  80 ใช้วิธีประเมินจากการให้ความร่วมมือในการลงพื้นที่ร่วมกันระหว่าง อสม.ในชุมชน

100.00
3 3.เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในชุมชนในการทำกิจกรรมป้องกันควบคุมโรค

เยาวชนมีส่วนร่วมในชุมชนในการทำกิจกรรมป้องกันควบคุมโรค  ร้อยละ  80 ใช้วิธีประเมินจากผลของการลงพื้นที่ ความสนใจในกิจกรรมต่างๆขณะลงพื้นที่

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โครงการ อสม.น้อย ควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โครงการ อสม.น้อย ควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมหลัก 1. ทำแบบประเมินก่อนดำเนินโครงการ
2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก กิจกรรมย่อย 1.กิจกรรมลงพื้นที่สำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ พร้อมรณรงค์โรคไข้เลือดออกในชุมชน 2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหลังจากการลงพื้นที่ ทำแบบประเมินหลังทำกิจกรรม รายละเอียดงบประมาณ
1 ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2 ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ 35 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 4,200 บาท 3 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 4,200 บาท 4.ค่าป้ายไวนิล1ป้ายเป็นเงิน450 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ
5.ค่าซองพลาสติก จำนวน 60 ใบๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 6.ค่าปากกา จำนวน 60 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท
7.ค่าสมุด จำนวน 60 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท
8.ค่ากระดาษแข็งป้ายชื่อพร้อมเชือกขาวแดงคล้องคอจำนวน 60 ชุดๆละ 6 บาท เป็นเงิน 360 9.เอกสารประเมิน จำนวน120 แผ่นๆละ 2บาทเป็นเงิน 240 บาท
10.ค่าเอกสารแผ่นพับ จำนวน 100 แผ่น ๆละ 4 บาท เป็นเงิน 400 บาท
11 สื่อประชาสัมพันธ์ (หมวก อสม.น้อย) 60 ใบๆละ 50 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท 12. ค่าทรายอะเบท 2 แพ็ค ๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท 13.ค่าถุงมือ 2 กล่องๆละ 175 บาท เป็นเงิน 350 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,000 บาท(สองหมื่นบาทถ้วน) ทุกรายการถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการควบคุมป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
  2. เยาวชนสามารถทำงานร่วมกับ อสม. ในการควบคุมป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
  3. เยาวชนมีส่วนร่วมในชุมชนในการทำกิจกรรมป้องกันควบคุมโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการควบคุมป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
2. เยาวชนสามารถทำงานร่วมกับ อสม. ในการควบคุมป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
3. เยาวชนมีส่วนร่วมในชุมชนในการทำกิจกรรมป้องกันควบคุมโรค


>