กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนทุ่งปรือ ประจำปีงบประมาณ2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนทุ่งปรือ ประจำปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

คณะกรรมการชุมชนทุ่งปรือ

1. นางวีณา ขุนเเสง
2. นางฟาติม๊ะ หีมปอง
3. นางจิตติมาส่งข่าว
4. นางสาวอัญชนาเอี้ยวสง่า
5. นางสาวจารุวรรณ ขุนเเสง

ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 4 ชุมชนทุ่งปรือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตรวมทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการกระทำของมนุษย์ที่ขาดจิตสำนึกและมีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่จำกัดจึงส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆชุมชนทุ่งปรือได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนทุ่งปรือเพื่อเป็นพื้นฐานการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีและจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในระยะยาว อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ชุมชนที่สะอาดและน่าอยู่ประชาชนหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี จึงได้กำหนดให้แกนนำชุมชนและประชาชนในชุมชนทุ่งปรือเป็นเป้าหมายแรกในการเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นการนำร่องให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มี ผลการทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว

1.ประชาชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ร้อยละ  80

100.00 100.00
2 2. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนึกถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

เพื่อให้คนในชุมชนตระหนึกถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โครงการรณรงค์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนทุ่งปรือ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ โครงการรณรงค์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนทุ่งปรือ ประจำปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการระยะเตรียมการ 1. กำหนดโครงการ ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ 2. ดำเนินการเขียนโครงการ 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ระยะดำเนินการ 1. ค้นหากลุ่มเป้าหมายประชาชนในชุมชน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในชุมชนโดยคณะกรรมการชุมชน 3. ติดต่อวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกผู้เข้าร่วม 4. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรม 5. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และกิจกรรมรณรงค์คนละไม้คนละมือ
6. ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ/สิ่งแวดล้อมในชุมชน
ระยะประเมินผล 1. สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ 2. จัดทำรายงานสรุปโครงการ กิจกรรมหลักอบรมให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมรอบตัว รายละเอียดงบประมาณ
1. ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ600 บาท เป็นเงิน3,600บาท 2. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ 35 บาทจำนวน40คน เป็นเงิน2,800บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 40 คนเป็นเงิน2,800บาท 4.ค่าป้ายไวนิล1ป้ายเป็นเงิน450บาท 5.ค่ากระเป๋าผ้า/ปากกา/สมุด จำนวน 40 ชุดๆละ80บาทเป็นเงิน3,200 บาท กิจกรรมย่อย (กิจกรรมวันที่ 2 )
-กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะ ปลูกต้นไม้ คนละไม้คนละมือ
- ถาม-ตอบ ปัญหาสุขภาพ/สิ่งแวดล้อมในชุมชน
1ค่าพันธ์ไม้ จำนวน 160 ต้นๆละ 35 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท 7 ค่าอาหารว่าง จำนวน 1มื้อๆละ 35 บาท จำนวน40 คน เป็นเงิน 1,400 บาท 8. ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 150 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,000 บาท (-สองหมื่นบาทถ้วน-) ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน  ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี 2. ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในระยะยาว 3. ทำให้ประชาชนหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว  เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
2. ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในระยะยาว
3. ทำให้ประชาชนหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี


>