กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมพัฒนาการ IQ/EQ ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการ IQ/EQ ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโคกม่วง แห่งที่ 2

-

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กที่มีความฉลาดทางสติปัญญาระดับที่ควรได้รับการพัฒนา

 

23.00
2 จำนวนเด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าปกติ

 

11.00

เด็กปฐมวัยอายุ 2-6 ปี เป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของชีวิต สมองมีการเจริญเติบโตมากกว่าทุกๆ ช่วงอายุ และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปูพื้นฐานทักษะต่างๆ ให้เด็กได้พัฒนา การเรียนรู้ การมีความสามารถทางเชาว์ปัญญาที่ดี (IQ) ช่วยให้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี มีศักยภาพในการสร้างสรรค์ ซึ่งจะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาทางอารมณ์ (EQ) ที่ดีด้วย จึงจะทำให้บุคคลเป็นคนที่มีคุณภาพได้ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างไม่เต็มศักยภาพ เพราะการจะมี EQ ดี ต้องอาศัยการคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจและความสามารถในการสื่อสารที่ดีด้วย การปลูกฝังพื้นฐานที่ดีทั้งไอคิว(IQ) และ(EQ) ในวัยเด็ก จะพัฒนาไปสู่ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งถือเป็นแนวคิดด้านหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัย การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ข้อมูลปีการศึกษา 2566 (จากแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง มีเด็กทั้งหมด 193 คน พบว่าเด็กมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าปกติ จำนวน 11 คน คิดเป็น 5.69% เด็กที่มีความฉลาดทางสติปัญญาระดับที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 23 คน คิดเป็น 11.91 % เด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์และสติปัญญา จำนวน 159 คน คิดเป็น 82.38% ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง จีงมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความสามารถทางเชาว์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการ IQ EQ ของเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น โดยยึดหลักพัฒนาพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่เกิดขึ้นตลอดเวลาให้เป็นไปตามขั้นตอนทั้งการพัฒนาของสมองและร่างกายเป็นหลัก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัย ให้แก่ผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัย

210.00 168.00
2 เพื่อกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ ของเด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา

ร้อยละ 100 ของคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา(IQ) และความฉลาดทางอารมณ์(EQ)ของเด็กทุก 3 เดือน ได้รับการกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ

34.00 34.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 34
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและครู

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและครู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1.จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง
2.ประชุมงานครูเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกันและดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ
3.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลโคกม่วง และผู้เกี่ยวข้อง
4.ประสานงานวิทยากร (พยาบาลวิชาชีพ สสจ.พัทลุง)
5.ดำเนินโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย จำนวน 193 คน และครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง จำนวน 17 คน รวม 210 คน
5.1 ดำเนินการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็ก
5.2 บันทึกข้อมูล และรายงานให้ผู้ปกครองทราบ
5.3 ในกรณีที่พบปัญหา ประสานงานกับ รพ.สต. เพื่่อช่วยกันแก้ปัญหา และกำหนดแนาวทางการแก้ไขร่วมกัน
5.4 จัดอบรมในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 เวลา 12.30 - 16.30 น.
ดังนี้
1) เรื่องการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของเด็ก
2) ตอบข้อซักถาม
6.ประเมินความรู้ ผู้ปกครองและครู ก่อน - หลังการอบรม

งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 193 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,825 บาท
- ค่าป้ายไวนิล โครงการส่งเสริมพัฒนาการ IQ EQ ของเด็กปฐวัย ขนาด 1.5x2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าแผ่นพับ/เอกสารเผยแพร่ประกอบโครงการ จำนวน 193 ใบๆละ 5 บาท เป็นเงิน 965 บาท
- ค่าจัดบอร์ดเผยแพร่ความรู้ประกอบโครงการ เป็นเงิน 310 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ ผู้ปกครองและครู เข้าร่วมอบรม จำนวน 163 คน
ผลลัพธ์ คือ ผู้ปกครองและครูมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 กระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ ของเด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา

ชื่อกิจกรรม
กระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ ของเด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ ของเด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 34 คน ดังนี้
1) จัดทำทะเบียนเด็ก
2) คัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามคู่มือการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา(IQ) และความฉลาดทางอารมณ์(EQ) ของเด็ก ทุก 3 เดือน
3) ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการแก้ไข
4) กระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ ผ่านชุดเครื่องเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ในกิจกรรมเกมส์การศึกษา ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 14.30 - 15.00 น.
ดังนี้
- ส่งเสริมพัฒนาการด้าน IQ เช่น ช่วยพัฒนาความคิด การวิเคราะห์ แยกแยะ การใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ เรียนรู้การนับเลข การบอกเวลา สี รูปทรงต่างๆ การเชื่อมโยงรูปแบบหรือรูปลักาณ์ของสิ่งของ การเรียนรู้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ
- ส่งเสริมพัฒนาการด้าน EQ เช่น ช่วยฝึกสมาธิ เสริมสร้างจินตนาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์

งบประมาณ
- ชุดเครื่องเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ จำนวน 4 ชุดๆละ 4,150 เป็นเงิน 16,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 34 คน ได้รับกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ
ผลลัพธ์ เด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา ได้รับกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินผล(IQ) และ (EQ) จากการส่งเสริมพัฒนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผล(IQ) และ (EQ) จากการส่งเสริมพัฒนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประเมินความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัย ให้แก่ผู้ปกครองและครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วง

- ประเมินความรู้ของผู้ปกครองและครู ก่อน - หลังการอบรมตามแบบประเมิน
2. ประเมินเด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 34 คน ดังนี้
- ติดตามและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามคู่มือการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา(IQ) และความฉลาดทางอารมณ์(EQ)ของเด็ก ทุก 3 เดือน จากผู้ปกครองและครู
- แจ้งผลการประเมินผู้ปกครองรับทราบ
- ส่งต่อ รพ.สต. ในรายที่มีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้
3.ประเมินเด็กปฐมวัยในกลุ่มปกติ จำนวน 159 คน ดังนี้
- ติดตามและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามคู่มือการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา(IQ) และความฉลาดทางอารมณ์(EQ)ของเด็ก ทุก 3 เดือน
- แจ้งผลการประเมินผู้ปกครองรับทราบ
4. สรุปผลการดำเนินโครงการ
- จัดทำรายงานสรุปผล จำนวน 1 เล่ม
- รายงานคณะกรรมการกองทุนฯ รับทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คือ เด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 34 คน ได้รับการกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ
ผลลัพธ์ คือ เด็กปฐมวัยได้รับการกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงได้รับการกระตุ้นการเสริมสร้าง IQ - EQ
2.ผู้ปกครองของเด็กและครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลโคกม่วงมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัย


>