กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย รหัส กปท. L3243

อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการบูรณาการลดปัจจัยเสี่ยงจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพตำบลจำป่าหวาย
กลุ่มคน
1.พระครูสุวรรณปัญญาลังการ
2.นางลออมหาวรรณศรี
3.นางวลัยรัตน์ รำไพ
4.นางแก้ว เจริญ
5.นางสาวบัวลองปัญญา
3.
หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกกำหนดให้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาเร่งด่วนอันดับที่ 2 เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมากกว่า 200 ชนิด และการเสียชีวิตของประชากรโลกมากกว่า 3.3 ล้านคนต่อปี สถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากรายงานประจำขององค์การอนามัยโลกปี 2014 ระบุว่า ประเทศไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับที่ 78 ของโลก เฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคน คิดเป็นค่าใช้จ่ายค่าสุราคนละ 509 บาทต่อวัน หรือประมาณ 6,108 บาทต่อปี มีปริมาณการดื่มต่อนักดื่ม 23.8 ต่อลิตรต่อคนต่อปีและมีความชุกผู้ที่มีภาวะจากการดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 4.9 สูงที่สุดในอาเซียน อีกทั้งยังเป็นพฤติกรรมเสี่ยง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคและการบาดเจ็บมากกว่า200 ชนิด มีโอกาสป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 216 เท่าทำให้เกิดโรคมากกว่า 60 โรค และจากการรายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยปี2556 พบว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการสูญเสียปีสุขภาวะในประชากรชายโดยสูงถึงห้าแสน ห้าหมื่นปีหรือร้อยละ 8.8
ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดผลกระทบในหลากหลายมิติทั้งที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเองหรือผลกระทบทางตรงต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุจราจร การเกิดอุบัติเหตุจราจรมีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความสัมพันธ์ในลักษณะที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามปริมาณการดื่มก่อนขับขี่ โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรมากที่สุดคือเมาแล้วขับ และเป็นเหตุที่ทำให้เสียชีวิตลำดับที่สอง ผลกระทบแบบเรื้อรังหรือระยะยาว ได้แก่ภาวการณ์เกิดพิษเฉียบพลัน ระบบทางเดินอาหาร มะเร็ง โรคทางจิตและประสาทและโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์กับปริมาณการดื่มที่มากขึ้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้อื่นซึ่งเป็นหลักการสำคัญลำดับต้นๆในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในครอบครัวของผู้ดื่ม พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคคลในครอบครัว เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มของบุคคลอื่นที่เป็นสมาชิกในครอบครัวอีกทั้งยังเป็นผลให้เกิดการส่งผ่านพฤติกรรมการดื่มจากรุ่นสู่รุ่น (intergenerational transmission) นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการทารุณกรรมต่อเด็กในครอบครัวทางร่างกายร้อยละ 18.1 และทางจิตใจ ร้อยละ9.2 ส่งผลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานก่อให้เกิดความรุนแรงในสถานที่ปฏิบัติงาน อาทิเช่น การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ ยังพบว่าผู้ที่ดื่มในระดับอันตรายมากจะสูญเสียผลิตภาพการทำงานมากที่สุด ร้อยละ 13.9 หรือคิดเป็นการขาดงาน 30 วันต่อปี (10) ในส่วนผลกระทบต่อชุมชนหรือสาธารณะ ได้แก่ การกระทำความผิดทางอาญา การดื่มสุราเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำผิดคดีอาญาต่างๆ อาทิเช่น ทำให้เสียทรัพย์ ร้อยละ 59.1 ความผิดเกี่ยวกับเพศ ร้อยละ 34.8 ความผิดต่อร่างกาย ร้อยละ 20.8 ความผิดฐานบุกรุก ร้อยละ 16.1 และความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ร้อยละ10.5 ความสูญเสียบนท้องถนนเป็นอีกผลกระทบหนึ่ง ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีทัศนคติหลังการดื่มกับสมรรถภาพในการขับรถ คิดว่าตนเองยังสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย ส่งผลให้เป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอันดับที่ 1 คือเมาสุรา การดื่มแล้วขับเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุและทำให้มีผู้เสียชีวิตอันดับที่ 1 (4) ผลกระทบต่อครอบครัว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งและความรุนแรงในครอบครัว พบว่าครอบครัวที่ดื่มสุรามีโอกาสเกิดความรุนแรงในครอบครัว 3.84 เท่า ของครอบครัวที่ไม่ดื่มสุรา (10) ทำให้สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี บุตรขาดความอบอุ่น ผู้หญิงที่เป็นภรรยาเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต อาจถึงเป็นโรคซึมเศร้าเพราะหัวหน้าครอบครัวติดสุรา (15) ผลกระทบต่อรัฐ ก่อให้เกิดภาระของประเทศในการคอยแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าใช้จ่ายในการบังคับใช้กฎหมายและการฟ้องร้องคดีความกระบวนยุติธรรม เป็นต้น
สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัดของจังหวัดพะเยา โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554 ความชุกของนักดื่มในประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 54 สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ มีคะแนนดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศเช่นเดียวกัน ในปี 2560 พบความชุกร้อยละ 44 อยู่ในลำดับที่ 3และในปี 2564 พบความชุกร้อยละ 40.7 อยู่ในลำดับที่ 5 ของประเทศ (ข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา,2564)
จากสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลจำป่าหวาย มีการสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้ารับบริการสุขภาพในสถานบริการ(ASSIST) ในประชากร อายุ 15 ปี ขึ้นไป ประชากรที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด จำนวน 1,413 คน ประชากรที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 791 คน คิดเป็นร้อยละ 55.98 (ข้อมูลจาก HDC(Health Data Center) จังหวัดพะเยา) ข้อมูลผู้ป่วยที่รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลพะเยา สาเหตุเนื่องจากสุราของตำบลจำป่าหวายที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพะเยา ย้อนหลัง 3 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น ดังข้อมูลตามตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพะเยา ปี 2564-2566 ปี พ.ศ. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ (คน)จำนวนผู้ป่วย(คน) จำนวนที่รับบริการ(ครั้ง) หมายเหตุ 256418 30 131
2565 9 31130
256619 34 92 *พยายามฆ่าตัวตาย 1 ราย เพศชาย 1 ต.ค.-31 ธ.ค.66*** 2037 112
ตารางที่ 1 จากข้อมูลดังกล่าว เห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสาเหตุเนื่องจากสุรามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลช่วง 1 ตุลาคม–31 ธันวาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยรายใหม่สูงกว่าผู้ป่วยตลอดปี ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากปัจจัยใดบ้าง
ด้านพฤติกรรมการดื่ม พบว่าในปัจจุบัน ผู้ป่วยมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับสารเสพติดอื่นแบบผสมผสาน ได้แก่ ดื่มเหล้าควบคู่กับการใช้กัญชา กะท่อม สูบบุหรี่(รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า) ส่งผลให้มีการออกฤทธิ์เร็ว รุนแรง และต้องการเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ผลกระทบต่อแต่ละด้านเพิ่มสูงขึ้นตามมาที่เห็นชัดเจนคือผลกระทบในมิติด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ จากความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพตำบลจำป่าหวาย จึงได้ประสานงานและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย และหน่วยบริการสาธารณสุข (โรงพยาบาลพะเยาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำป่าหวาย) จัดทำโครงการบูรณาการลดปัจจัยเสี่ยงจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมสารเสพติดอื่นๆตำบลจำป่าหวายขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเพิ่มกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
    ตัวชี้วัด : จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
    ขนาดปัญหา 7.69 เป้าหมาย 100.00
  • 2. เพื่อลดจำนวนร้านค้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
    ตัวชี้วัด : จำนวนร้านค้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
    ขนาดปัญหา 33.33 เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 3.1 สำรวจข้อมูลการดื่มเริ่มตั้งแต่กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป แหล่งจำหน่าย และจัดประชุมคณะทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน อสม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการ คืนข้อมูลและทำข้อตกลงการขับเคลื่อนงานร่วมกัน (ประกอบด้วย คณะทำงาน
    รายละเอียด

    8.1 ค่าจัดประชุมคณะทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน อสม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการ(2,260) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 66x 1 มื้อ ๆละ 25 บาทเป็นเงิน1,650.- บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร ๆละ 120 บาท เป็นเงิน 360.- บาท - ค่ากระดาษเอ4 180 แกรมสำหรับทำบันทึกข้อตกลงฯ 1 ห่อ(50แผ่น)ๆละ 250 บาท
    เป็นเงิน 250.- บาท 8.2 ค่าใช้จ่ายกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอาสาสร้างสุขภาวะ 1 วัน (12,000) - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คน x 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน2,250.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนx 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน2,250.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 6 ชั่วโมงๆละ 500 บาท เป็นเงิน3,000.- บาท - ค่าวัสดุ(คู่มือ ปากกา แฟ้ม) 45 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน4,500.- บาท 8.3 ค่าใช้จ่ายจัดเวทีประชุมประชาคมธรรมนูญตำบลจำนวน 2 ครั้ง(วัน)(12,600) - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 2 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน3,000.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนx 4 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน3,000.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 6 ชั่วโมงๆละ 500 บาทx 2 วัน เป็นเงิน6,000.- บาท - ค่าจัดทำเอกสารร่างธรรมนูญตำบล 30 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน600.- บาท 8.4 ค่าใช้จ่ายกิจกรรมรณรงค์คนบวชใจงดเหล้าช่วงเข้าพรรษา (5,860) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คนx 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท - ค่าป้ายไวนิล “ชวน ช่วย ชมเชียร์ งดเหล้าครบพรรษา”ขนาดกว้าง1เมตร ยาว3 เมตร เป็นเงิน360.-บาท - ค่ากระดาษเอ4ขนาด180 แกรม(ทำใบประกาศ) จำนวน 2 ห่อ(ห่อละ50แผ่น)ๆละ250 บาท
    เป็นเงิน500.-บาท - ค่าใช้จ่ายอื่นๆ(กระปุกออมสิน ไวนิล สติกเกอร์)ขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานเครือข่าย องค์กรงดเหล้า 8.5 ค่าใช้จ่ายคณะทำงานและอาสาสมัครเยี่ยมติดตามผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มในระดับความเสี่ยงปานกลางถึงเสี่ยงสูง (5,400) - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 9 วัน x 1 มื้อๆละ 50 บาทx6คน เป็นเงิน 2,700.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 9 วัน x 2 มื้อๆละ 25บาทx6คน เป็นเงิน 2,700.-บาท 8.6 ค่าใช้จ่ายเวทีคืนข้อมูลและถอดบทเรียนโครงการ (9,000) - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน x 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 2 มื้อ ๆละ 25 บาทเป็นเงิน 3,000.-บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมงๆ500 บาทเป็นเงิน 3,000.-บาท 8.7 ค่าสรุปรายงานโครงการจัดทำรูปเล่ม 2 เล่มๆละ 200 บาทเป็นเงิน 400.-บาท รวม จำนวนเงินทั้งสิ้น 47,550.- บาท ตัวอักษร ( สี่หมื่นเจ็ดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

    งบประมาณ 47,550.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 1-13 ตำบลจำป่าหวาย

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 47,550.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

8.1 แกนนำชุมชน อสม. สามารถขับเคลื่อนงานด้านการแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วม สารเสพติดอื่นๆในชุมชนของตนเองได้8.2 ประชาชนได้รับการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายจากผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดอื่นๆ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย รหัส กปท. L3243

อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย รหัส กปท. L3243

อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 47,550.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................