กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่ดีบ้านหมู่ที่ 7 ต.จำป่าหวาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จำป่าหวาย

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

หมู่ที่ 7 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยาจังหวัดพะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

594.81
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

25.57
3 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

12.73
4 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

95.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

31.85
6 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

1.27

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

594.81 119.56
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

25.57 50.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

31.85 50.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

95.00 100.00
5 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

1.27 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงอสม.และคณะกรรมการฯเพื่อเตรียมความพร้อมและสำรวจข้อมูลปริมาณขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงอสม.และคณะกรรมการฯเพื่อเตรียมความพร้อมและสำรวจข้อมูลปริมาณขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมชี้แจงกลุ่มอสม.คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภาอบต. และแกนนำครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ -กลุ่ม อสม.ดำเนินการสำรวจปริมาณข้อมูลขยะมูลฝอยในชุมชนที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แยกตามประเภทขยะ การนำขยะแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์ งบประมาณ สำรวจข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้าน โดย อสม.
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 24 คน คนละ 50 บาทจำนวน1 มื้อ เป็นเงิน1,200.- บาท - ค่าอาหารว่างและพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 24 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน1,200.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ปริมาณขยะครัวเรือนที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ การคัดแยกขยะที่ต้นทางตามหลักการ 3RS

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ การคัดแยกขยะที่ต้นทางตามหลักการ 3RS
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประสานวิทยากร จากหน่วยงานอปท.ต้นแบบที่มีการบริหารจัดการขยะที่ดี/รพ.สต./ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล และจัดทำหลักสูตรอบรม ระยะเวลา 1 วัน
2 จัดอบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่กลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ เนื้อหาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ผลกระทบที่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกต้อง การมุ่งเน้นให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางตามหลักการ 3RS และการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการชุมชนด้านการเฝ้าระวังการลักลอบนำขยะทิ้งในที่สาธารณะ การขับเคลื่อนกิจกรรมธนาคารขยะ กิจกรรมถังขยะเปียกลดโลกร้อน 3 จัดทำป้ายไวนิลโครงการและป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการลด คัดแยกขยะ และป้ายรณรงค์ธนาคารขยะรีไซเคิล - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คน คนละ ๕๐ บาท  จำนวน ๑ มื้อ        เป็นเงิน  3,750.- บาท - ค่าอาหารว่างและพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 75 คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ  เป็นเงิน  3,750.- บาท - ค่าป้ายโครงการขนาด กว้าง ๑ เมตร x ยาว ๓ เมตร จำนวน ๑ ป้าย            เป็นเงิน     360.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร เป็นเวลา ๕ ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๓๐๐ บาท                เป็นเงิน  1,500.- บาท
-ค่าสมุด จำนวน 75 เล่มๆละ ๑๐ บาท                                เป็นเงิน     750.- บาท 
-ค่าปากกา จำนวน 75 ด้ามๆละ  ๕  บาท                                เป็นเงิน     375.- บาท
-ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด กว้าง ๑ เมตร x ยาว 2.5 เมตร จำนวน 3 ป้าย   เป็นเงิน     900.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2567 ถึง 29 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและสามารถลด คัดแยกขยะได้ถูกต้องตามประเภท
  2. เกิดกองทุนสวัสดิการธนาคารขยะรีไซเคิล
  3. ครัวเรือนมีการใช้ประโยชน์หมุนเวียนจากขยะแต่ละประเภท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11385.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ(อสม.24+ผู้นำ6)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ(อสม.24+ผู้นำ6)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะกรรมการประชุมติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ(อสม.24+ผู้นำ6) จำนวน 1 ครั้ง/วัน งบประมาณ       - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน คนละ 50 บาท  จำนวน 1 มื้อ        เป็นเงิน  1,500.- บาท                - ค่าอาหารว่างและพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ     เป็นเงิน  1,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 15 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-.สรุปรายงานความก้าวหน้าของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสรุปรายงานโครงการและจัดทำรูปเล่ม 2 เล่มๆละ 200 บาท       เป็นเงิน       400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปรูปเล่มรายงานผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,185.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 แกนนำครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างถูกต้อง
8.2 ครัวเรือนในชุมชนมีการจัดกิจกรรมการลด คัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างชัดเจนและยั่งยืน


>