กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโพธิ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขยับกาย สบายใจ ห่างไกลโรค Office Syndrome อบต.ควนโพธิ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโพธิ์

อบต. ตำบลควนโพธิ์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ควนโพธิ์

อบต.ตำบลควนโพธิ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันพบว่ามีสภาวะการทำงานที่เร่งรีบ และเคร่งเครียด รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงานในพื้นที่ที่จำกัด การทำงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
ท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดโรค "ออฟฟิตซินโดรม" หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด คืออาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้
เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ ทั้ง หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อลดปัญหาทางสุขภาพจากการทำงานที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวกล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลควนโพธิ์ จึงได้จัดทำโครงการ “ขยับกาย สบายใจ ห่างไกลโรค Office Syndrome” อบต.ควนโพธิ์ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของคนทำงานในองค์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่จัดทำเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคออฟฟิตซินโดรมและทราบแนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมในการท างานให้เหมาะสมมากขึ้น

ร้อยละ 80 ของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง ของ อบต.ควนโพธิ์ ที่เข้าร่วมโครงการ  มีความรู้เกี่ยวกับโรคออฟฟิต ซินโดรม และแนวทางการจัดการสภาพแวกล้อมในการทำงาน

40.00 32.00
2 เพื่อเจ้าหน้าที่ อบต.ควนโพธิ์ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงานที่ดีขึ้น ป้องกันการเกิดอาการออฟฟิตซินโดรมที่เกิดจากการทำงาน

ร้อยละ 80 ของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง ของ อบต.ควนโพธิ์ ที่เข้าร่วมโครงการ  มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันการเกิดอาการออฟฟิตซินโดรมที่เกิดจากการทำงาน

40.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกแกนนำที่มาจากกองกองละ 1 คน

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือกแกนนำที่มาจากกองกองละ 1 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานงานกับแต่ละกองเพื่อให้ส่งตัวแทนมาเป็นคณะทำงาน ฝ่ายละ 1 คน   ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กรกฎาคม 2567 ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แกนนำ ในการดำเนินงาน จำนวน 5- 7 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงแกนนำและเจ้าหน้าที่ลูกจ้างทั้งหมด

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแกนนำและเจ้าหน้าที่ลูกจ้างทั้งหมด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมแกนนำและเจ้าหน่้าที่ที่เข้าร่วมโครงการ จากทุกกอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีทักษะในการ ดูแลติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องการป้องกันการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรค ออฟฟิตซินโดรม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องการป้องกันการดูแลตนเองให้ปลอดจากโรค ออฟฟิตซินโดรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 120 บาทx 40 คน เป็นเงิน4,800 บาท
2.ค่าอาหารว่าง เป็นเงิน 30X 40 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
3.ค่า วัสดุสาธิต และกระดาษเอ 4 740 บาท
4.ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้ที่ผ่านการอบรมมีความรู้ ทักษะในการป้องกันโรคออฟฟิตซินโดรม จำนวน 40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8540.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จััดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง 2,000 บาท
เครื่องวัดความดัน จำนวน 1 เครื่อง จำนวน 1,600 บาท
เครื่องเจาะหาน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่องจำนวน 1,500 บาท
สายวัด จำนวน 2 เส้น จำนวน 40 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5140.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป่้าหมาย จำนวน 40คน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป่้าหมาย จำนวน 40คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน เดือน ละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรปุผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรปุผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
ค่าอาหารกลางวัน120 บาทx 40 คน เป็นเงิน4,800บาท
ค่าอาหารว่าง เป็นเงิน30X 40 คน เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย ร้อยละ  80 ไม่ม่ีภาวะ ของโรคออฟฟิตซินโดรม  และมีสุขภาพดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

บุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย และจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสมตลอดจนปรับสิ่งแวดล้อม
ให้เอื้อต่อการทำงานเพื่อห่างไกลจากโรคออฟฟิตซินโดรม


>