กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ

เรือนจำจังหวัดตรัง

เรือนจำจังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

30.00
2 ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

30.00

ผู้ต้องขัง เมื่อเข้ามาสู่เรือนจำ/ทัณฑสถานมักเกิดความเครียด ความกดดัน รวมไปถึงการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน และการใช้ชีวิตร่วมกับคนที่ไม่คุ้นเคยจำนวนมาก ต้องแยกจากกับครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รัก และขาดอิสรภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการดุอย่างเหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคทางจิตเวชตามมาได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น เรือนจำจังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมดูแลสุขภาพจิตของผู้ต้องขัง จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต ได้แก่ การจัดกิจกรรมนันทนาการ การให้ความรู้ส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีดูแลสุขภาพจิต วิธีการผ่อนคลายความเครียด และการฝึกทักษะในการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง เป็นต้น
เรือนจำจังหวัดตรัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิต จึงได้จัดทำกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรังขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง สามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเองและปรับตัวในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60  ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

30.00 10.00
2 เพื่อลดเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของเยาวชน อายุ 18-25 ปี ที่มีภาวะซึมเศร้า

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,800
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพจิตผู้ต้องขัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพจิตผู้ต้องขัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 2.ดำเนินการประเมินสุขภาพจิตตามแบบประเมินสุขภาพจิต และแบบคัดกรองประเมินโรคซึมเศร้าตามแบบประเมินกระทรวงสาธารณสุขโดยนักจิตวิทยาและพยาบาลเรือนจำจังหวัดตรัง
รายละเอียดตามรายการดังต่อไปนี้ 1.ค่าสื่อป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล)ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร x 1 แผ่น เป็นเงิน 432 บาท 2.ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินภาวะสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำไทย จำนวน1,800 ชุด ๆ ละ1บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองประเมินโรคซึมเศร้า และแบบประเมินฆ่าตัวตาย ชุดละ2แผ่น จำนวน1,800 ชุด ๆ ละ2บาท เป็นเงิน 3,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง ได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต อย่างน้อย 90 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5832.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดูแลสุขภาพจิตให้กับผู้ต้องขัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดูแลสุขภาพจิตให้กับผู้ต้องขัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินผลจากแบบประเมินเพื่อคัดกรองหากลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพจิต จำนวน 120 คน 2.จัดอบรมด้านการป้องการการเกิดภาวะสุขภาพจิตในผู้ต้องขังเรือนจำ จำนวน3 ชม.โดยวิทยากรนักจิตวิทยา 3.จัดซื้อ/จัดหา วัสดุอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการอบรม โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1.ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินการ จำนวน 130 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน3,900บาท 3.ค่าอุปกรณ์สำหรับอบรมโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ/ทัณฑสถาน เช่น ปากกา สมุด จำนวน 120 คน x 25 บาท เป็นเงิน3,000บาท 4.ค่าเข้าเล่มรายงานเล่มละ 300 บาท x 1 เล่มเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง และเจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพจิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,832.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง และเจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพจิต
2 ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง ได้รับการคัดกรองสุขภาพจิต อย่างน้อย 90 %


>