2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันปัญหาฟันผุในเด็กประถมศึกษาเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ แม้ว่าสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย มีนโยบายที่มุ่งหวังให้เด็กประถมศึกษามีสุขภาพช่องปากที่ดี และมีการพัฒนางานส่งเสริมป้องกันด้านทันตสุขภาพอย่างจริงจังแล้วก็ตาม ปัญหาทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษา มีปัญหาโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ซี่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เด็กนักเรียนไม่แปรงฟันหลังอาหารกลางวันและก่อนนอน อีกทั้งเด็กยังขาดความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและประโยชน์ของการแปรงฟัน
จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. ๒๕60 พบว่า เด็กไทยอายุ 12 ปี มีฟันผุร้อยละ 52.0 และมีโรคเหงือกอักเสบร้อยละ 66.3 พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ พบว่า นักเรียนไม่เคยแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยละ 55.3 แปรงฟันก่อนนอน ร้อยละ 38.6 บริโภคน้ำอัดลม 1-3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 57.4 และบริโภคขนมกรุบกรอบทุกวัน ร้อยละ 32.6 (กองทันตสาธารณสุข, ๒๕60)
จากการสำรวจข้อมูลการตรวจสภาวะช่องปากเด็กวัยเรียนในตำบลบานา (ประกอบด้วยโรงเรียนบ้านกูวิง โรงเรียนบ้านบานา โรงเรียนบ้านจือโระ โรงเรียนชุมชนบ้านยูโย โรงเรียนเมืองปัตตานี และโรงเรียนปัญญาวิทย์) ปี พ.ศ.๒๕๖5 โดยฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา พบว่า เด็กนักเรียนมีฟันผุร้อยละ 82.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ทางกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจไว้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จึงจัดทำโครงการ “หนูน้อยแกนนำทันตสุขภาพ” โดยคัดเลือกแกนนำทันตสุขภาพ โรงเรียนละ 6 คน จำนวน 5 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านกูวิง โรงเรียนบ้านบานา โรงเรียนบ้านจือโระ โรงเรียนปัญญาวิทย์ และโรงเรียนดารุลบารอกะฮฺ และคัดเลือกแกนนำทันตสุขภาพโรงเรียนละ 13 คน จำนวน 2 โรง ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านยูโย และโรงเรียนเมืองปัตตานี รวมจำนวนแกนนำทันตสุขภาพทั้งหมด 56 คน ครอบคลุมทั้ง 7 โรงเรียน เพื่อพัฒนาระบบการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้จุดเด่นในเรื่องระบบพี่ดูแลน้อง จัดให้มีแกนนำนักเรียนทำหน้าที่ในการดูแลระบบการแปรงฟันและมีการพัฒนาทักษะแกนนำนักเรียนให้มีความรู้ทันตสุขศึกษาและแปรงฟันได้ถูกวิธี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนคนอื่นๆได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 10/06/2024
กำหนดเสร็จ 30/06/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. แกนนำนักเรียนสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้
2. แกนนำนักเรียนและนักเรียนคนอื่นๆสุขภาพช่องปากดีขึ้น
3. แกนนำนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนคนอื่นๆได้