กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. น.ส.แอเสาะ ดอเลาะประธานอสม.ตำบลปุโละปุโย
2. น.ส.วีนัส สาเระประธานอสม.หมู่ 4 ตำบลปุโละปุโย
3. นายมะดาโอะ เจะปอ อสม.หมู่ 5 ตำบลปุโละปุโย
5. น.ส.นูรีดาลาเตะ ประธานอสม.หมู่ 8 ตำบลปุโละปุโย
6. น.ส.ลีเยาะ ดอนิ ประธานอสม.หมู่ 9 ตำบลปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

1.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในสังคมปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์มีเครื่องทุ่นแรงมากมาย เป็นผลให้การใช้แรงงานในชีวิตประจำวันลดน้อยลง ประกอบกับการต่อสู้แข่งขันในเรื่องการศึกษา การทำมาหากิน ทำให้การออกกำลังกายเปรียบเสมือนสิ่งฟุ่มเฟือยแทนที่จะเป็นสิ่งจำเป็น จึงมีคนจำนวนมากที่ออกกำลังกายไม่พอ หรือขาดการออกกำลังกาย จนถึงขั้นเกิดโทษแก่ร่างกาย วิถีชีวิตการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปและกลุ่มประชากรวัยทำงานก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ควรปรารถนา ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายเพื่อป้องกันให้มีร่างกายสุขภาพที่แข็งแรง การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้วยังทำให้สุขภาพจิตใจดีตามไปด้วยการออกกำลังกายแต่ละอย่างก็จะเหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุแตกต่างกันไปแต่มีการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัยหรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะมีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวที่ล่าช้าหรือไม่คล่องแคล่วเหมือนวัยอื่นๆ นั้นคือการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าเพราะนอกจากใช้เป็นท่าในการออกกำลังกายแล้ว ยังทำให้ร่างกายตื่นตัว แข็งแรงและเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วย กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุขตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้เห็นถึงความสำคัญถึงประโยชน์มากมายของการออกกำลังกายด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้ผ้าขาวม้า จึงได้จัดโครงการขยับกายสบายชีวีด้วยผ้าขาวม้าพาสุข ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนรวมทั้งส่งเสริมความสามัคคีความเข้มแข็งในชุมชน และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยความดันและเบาหวาน

1.ผู้ป่วยความดันและเบาหวานมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงร้อยละ 80

8.00 1.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันและเบาหวานให้ความสำคัญในการออกกำลังกายสามารถดูแลตนเองได้อย่างมีคุณภาพ

2.ผู้ป่วยความดันและเบาหวานออกกำลังกายได้ถูกต้อง ร้อยละ 100

8.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ากลุ่มผู้ป่วยความดันและเบาหวานรุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ากลุ่มผู้ป่วยความดันและเบาหวานรุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาทรวมเป็นเงิน 3,600บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 50 คน รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท xจำนวน 50 คน รวมเป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ากลุ่มผู้ป่วยความดันและเบาหวาน กลุ่มผู้ป่วยความดันและเบาหวาน รุ่นที่ 2จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ากลุ่มผู้ป่วยความดันและเบาหวาน กลุ่มผู้ป่วยความดันและเบาหวาน รุ่นที่ 2จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท x จำนวน 50 คน รวมเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท xจำนวน 50 คน รวมเป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าผู้ป่วยความดันและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าผู้ป่วยความดันและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 2,800บาท รวมเป็นเงิน 2,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า
2.ประชาชนที่เข้าร่วมการออกกำลังกายมีค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือมีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากเดิม
3.ประชาชนกลุ่มโรคเรื้อรังมีความตระหนักในการออกกำลังกาย


>