2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคติดต่อนำโดยแมลง เป็นโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และสามารถเกิดการระบาดได้ตลอดทั้งปี แต่ประเทศไทยแต่มักพบการระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะ โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เช่น ไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ซิกา โรคเท้าช้าง โรคไข้สมองอักเสบ เป็นต้น ซึ่งตามปกติยุงนั้นเป็นสัตว์ที่พบได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพอากาศชื้นแฉะ มีฝนตกชุก ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง เกิดแอ่งน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ทำให้ยุงลายมีแหล่งสำหรับเพาะพันธุ์และสามารถขยายพันธุ์ได้เพิ่มขึ้น ชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ก็เป็นหนึ่งในหลายๆพื้นที่พบการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคทุกปี จากข้อมูลของงานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูลได้รายงานสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสตูลยังคงมีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้พบมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 จนถึงวันที่ 2 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2567
จำนวน 46 ราย โดยพบเพศชาย 15 ราย เพศหญิง 31 ราย เป็นผู้ป่วยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 8 ราย (เพศชาย 2 ราย เพศหญิง 6 ราย) อัตราป่วย 33.8 /แสนประชากรโดยชุมชนที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ ชุมชนเมืองพิมาน ชุมชนคลองเส็นเต็น ชุมชนจงหัว ชุมชนหลังโรงพักชุมชนห้องสมุด ชุมชนซอยม้าขาว ชุมชนสี่แยกคอกเป็ด ตามลำดับ (ที่มา : งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล ข้อมูล ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม 2567) ด้วยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล มีหน้าที่ดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50 (4) และตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคนั้นและให้ความสำคัญของการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อดำเนินการป้องกัน ควบคุม และระงับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้ประชาชนพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลงต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/09/2024
กำหนดเสร็จ 31/01/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลอย่างต่อเนื่อง
2.อัตราการเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลง
3.ระดับความชุกแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลายในชุมชนพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลง