โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L8008-01-31 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล |
วันที่อนุมัติ | 15 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กันยายน 2567 - 31 มกราคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
งบประมาณ | 80,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางซาฮีดา สะกานดา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 31 ม.ค. 2568 | 80,200.00 | ||||
รวมงบประมาณ | 80,200.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 21419 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ชุมชนที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ ชุมชนเทศบาล 4 ชุมชนปานชูรำลึก ชุมชนซอยปลาเค็ม ที่มา : อ้างอิงข้อมูลจากการรายงานสถานการณ์การเเพร่ระบาดของไข้เลือดออกในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ณ วันที่1 - 22 พฤษภาคม 2566 ระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล และกลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล |
70.00 | ||
2 | ร้อยละของอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน24ราย (อัตราป่วย 80.2 ต่อประชากรแสนคน) โดยพบเพศชาย 7 ราย เพศหญิง 17 ราย ที่มา : อ้างอิงข้อมูลจากการรายงานสถานการณ์การเเพร่ระบาดของไข้เลือดออกในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ณ วันที่1 - 22 พฤษภาคม 2566 งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล และกลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล |
70.00 | ||
3 | ร้อยละของความชุกของแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลาย ที่มาจากการรายงานประจำเดือนการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายของอสม. |
80.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อนำโดยแมลง เป็นโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค สามารถพบการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และสามารถเกิดการระบาดได้ตลอดทั้งปี แต่ประเทศไทยแต่มักพบการระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะ โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เช่น ไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ซิกา โรคเท้าช้าง โรคไข้สมองอักเสบ เป็นต้น ซึ่งตามปกติยุงนั้นเป็นสัตว์ที่พบได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพอากาศชื้นแฉะ มีฝนตกชุก ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง เกิดแอ่งน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ทำให้ยุงลายมีแหล่งสำหรับเพาะพันธุ์และสามารถขยายพันธุ์ได้เพิ่มขึ้น ชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ก็เป็นหนึ่งในหลายๆพื้นที่พบการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคทุกปี จากข้อมูลของงานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูลได้รายงานสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสตูลยังคงมีอัตราป่วยสะสมของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้พบมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 จนถึงวันที่ 2 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2567
จำนวน 46 ราย โดยพบเพศชาย 15 ราย เพศหญิง 31 ราย เป็นผู้ป่วยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 8 ราย (เพศชาย 2 ราย เพศหญิง 6 ราย) อัตราป่วย 33.8 /แสนประชากรโดยชุมชนที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ ชุมชนเมืองพิมาน ชุมชนคลองเส็นเต็น ชุมชนจงหัว ชุมชนหลังโรงพักชุมชนห้องสมุด ชุมชนซอยม้าขาว ชุมชนสี่แยกคอกเป็ด ตามลำดับ (ที่มา : งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล ข้อมูล ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม 2567) ด้วยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล มีหน้าที่ดำเนินการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50 (4) และตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อนำโดยแมลง โดยเฉพาะโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคนั้นและให้ความสำคัญของการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อดำเนินการป้องกัน ควบคุม และระงับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้ประชาชนพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลอย่างต่อเนื่อง สามารถดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลได้อย่างต่อเนื่อง |
70.00 | 60.00 |
2 | เพื่อลดจำนวนประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลที่เจ็บป่วยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวนประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลเจ็บป่วยจากโรคติดต่อนำโดยแมลงลดลง |
70.00 | 60.00 |
3 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลายในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล ร้อยละ 100 ของชุมชน มีค่า HI น้อยกว่า 10 ค่า CI น้อยกว่า 5 และค่า BI น้อยกว่า 50 |
80.00 | 70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 80,200.00 | 1 | 0.00 | |
1 - 20 ก.ย. 67 | กิจกรรมเตรียมความพร้อมในป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล | 0 | 58,900.00 | - | ||
15 ก.ย. 67 - 31 ต.ค. 67 | กิจกรรมฉีดพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงลายในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสตูล (จำนวน 20 ชุมชน) | 0 | 8,400.00 | ✔ | 0.00 | |
1 - 31 ม.ค. 68 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง | 0 | 12,900.00 | - |
1.สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยแมลงในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลอย่างต่อเนื่อง 2.อัตราการเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลง 3.ระดับความชุกแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงลายในชุมชนพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูลลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 15:08 น.