กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero waste school โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนการ สร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค รุ่นที่ 2

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero waste school โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนการ สร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค รุ่นที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

โรงเรียนบ้านปากบางตาวา

๑. นายโอภาสภูดินดานประธานกรรมการ
๒. นางสาวกนิษฐาคงธนถาวรสกุลกรรมการ
๓. นางวัลลภา หิรัญวิริยะกรรมการ
๔. นางรัตติยา สันหมุดกรรมการ
๕. นางสาวฮามีดะหะยีสาและ กรรมการและเลขานุการ

โรงเรียนบ้านปากบางตาวาและชุมชนหมู่ที่ 1 ตำบลบางตาวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนและโรงเรียนบ้านบ้านปากบางตาวา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและโรงเรียน อาทิเช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุงฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรกน่ารังเกียจ ขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากเกิดกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียนและประชาชน
องค์การอนามัยโลก(World Health Organizationะ WHO) ได้ให้ความหมายแก่ขยะมูลฝอยไว้ว่าคือสิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการแล้วมีผู้นำไปใช้ประโยชน์จนสุดท้ายไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วและถูกทิ้ง ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำจัดจัดเก็บและขนส่งนั่นหมายความว่าสิ่งของที่เราทิ้งจากที่บ้านถ้ายังมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้สิ่งนั้นก็จะยังไม่ใช่ขยะจากความหมายดังกล่าวได้รับการตอกย้ำด้วยแนวคิดที่เห็นคุณค่าจากขยะดังเช่น "พอเพียง 5 enough" "ขยะคือทรัพยากร" การใช้ทรัพยากรอย่างพอดีเห็นคุณค่าบวกกับการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับวัสดุเหลือใช้ที่มีรอบบ้านเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะ นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ ประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขยะมูลฝอยที่ต้นทางให้แก่นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด โดยโรงเรียนบ้านปากบางตาวาตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจํานวนนักเรียน 232 คน ผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา 30 คน รวมทั้งสิ้น 262 คน โดยเด็กนักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ม.1 ตำบลบางตาวาซึ่งเป็นเป็นชุมชนที่จำนวนขยะตกค้างเป็นจำนวนมากเนื่องจากเด็ก เยาวชน และประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจใน การคัดแยกขยะ ขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะลงถัง ทำให้เกิดขยะตกค้างและสกปรกส่งกลินเหม็นและเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคดังนั้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของ เรื่องดังกล่าวและส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรมลดคัดแยก และนำกลับขยะมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกฝังจิตสำนึกการลดคัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษา เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริงตลอดจนขยายผลต่อจนกลายเป็นชุมชนปลอดขยะต่อไป ดังนั้นโรงเรียนบ้านปากบางตาวาจึงดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน "การสร้างเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรค" ขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 230
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมความรู้การคัดแยกประเภทขยะ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้การคัดแยกประเภทขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน นักเรียน/ ครู /ผู้ปกครอง นักเรียนในชุมชน จำนวน 1 มื้อ  120 คน  คนละ 30 บาท                                               เป็นเงิน   3,600  บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ/กิจกรรม ขนาด 1.50 x 2.00 ตรม.   เป็นจำนวน 1  แผ่น(1.50 x 2.00 ตรม.x 350= 1,050 )
                                                  เป็นเงิน  1,050  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4650.00

กิจกรรมที่ 2 นักคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์กระถางรักษ์โลก

ชื่อกิจกรรม
นักคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์กระถางรักษ์โลก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เครื่องบดใบไม้    จำนวน 1 เครื่อง     เป็นเงิน  9,500  บาท

  • บล็อกกระถาง     จำนวน 10 อัน  อันละ  250 บาท
                                                     เป็นเงิน 2,500   บาท

  • สีน้ำพลาสติก ขนาดกลาง  ราคากระป๋องละ 290 บาท
      จำนวน 3 กระป๋อง                         เป็นเงิน   870   บาท

  • กาว ขนาด 1.8 กิโลกรัม ราคาถังละ 270 บาท
      จำนวน 2 ถัง                                เป็นเงิน   540   บาท

  • พู่กัน เบอร์ 12 ราคาด้ามละ 20 บาท     จำนวน 10 ด้าม                                                    เป็นเงิน  20๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13610.00

กิจกรรมที่ 3 บ้านปลอดขยะ

ชื่อกิจกรรม
บ้านปลอดขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไวนิลบ้านปลอดขยะขนาด0.60x1.00ตรม.  =  210
จำนวน  16  อัน  อันละ ๒1๐ บาท  ( 210x 16= 3,360 )
                                                เป็นเงิน  3,360  บาท

  • เกียรติบัตรพร้อมกรอบขนาด A4 สำหรับมอบผู้เข้าร่วม โครงการ จำนวน  16  อัน  อันละ 200 บาท
                                                     เป็นเงิน 3,200  บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  คณะกรรมการและผู้ปกครองนักเรียนในชุมชน  จำนวน 2๐ คน   คนละ 30 บาท
       จำนวน 1 มื้อ                             เป็นเงิน   6๐0  บาท

  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์และประชาสัมพันธ์กิจกรรมบ้านปลอดขยะ   ขนาด 1.50 x 2.00 ตรม.        เป็นจำนวน 1  แผ่น    (1.50 x 2.00 ตรม.x 350= 1,050 )
                                                    เป็นเงิน  1,050  บาท

  • แผ่นพับประชาสัมพันธ์กิจกรรมบ้านปลอดขยะ   แผ่นละ 1 บาท จำนวน 300 แผ่น    เป็นเงิน  ๓๐0  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8510.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในโรงเรียน ครูบุคลากร ผู้ปกครองรวมถึงชาวบ้านในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวส่งเสริมความรู้การคัดแยก
ประเภทขยะ8๐ %
2. นักเรียนสามารถออกแบบความคิดสร้างสรรค์โดยการประดิษฐ์สร้างสรรค์ กระถางรักษ์โลก จากใบไม้ที่ร่วงหล่นในโรงเรียนกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกทั้งยังสามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับตัวเองอีกด้วย
3. นักเรียนในโรงเรียนบ้านปากบางตาวารู้จักรักษ์ดูแลและช่วยกันทำความสะอาดโรงเรียนบ้านปากบางตาวาให้ปราศจากขยะ มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงามและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
4.ชุมชนมีบ้านตัวอย่าง ปลอดขยะ”


>