กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขอเสนอโครงการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในพื้นที่ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. นางชนิศาไชยประดิษฐ
2.นางสาวนาซีเราะห์สาและ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส และพื้นที่ ม.๘ ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis หรือ Elephantiasis) เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม (Roundworm)ติดต่อโดยทีโดยแมลงเป็นพาหะคือ ยุง ในประเทศไทยพบพยาธิโรคเท้าช้าง ๒ ชนิด ได้แก่ เชื้อWuchereria bancroftiทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พาหะหลัก คือ ยุงลายป่า(Aedes nevius) พบในจังหวัดชายแดนไทย – พม่าในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอนเชียงใหม่ลําพูนกาญจนบุรีราชบุรีระนอง และเชื้อ Brugia malayiทำให้เกิดอาการแขนขาโต มีพาหะหลักคือ ยุงเสือ (Mansonia bonnea)พบทางภาคใต้ของประเทศในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราชกระบี่และนราธิวาสสำหรับจังหวัดนราธิวาสโรคเท้าช้างถือเป็นโรคประจำถิ่นมีอัตราความชุกของโรคสูงที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงตรวจพบเชื้อพยาธิไมโครฟิลาเรียอยู่ ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการกำจัดโรคเท้าช้างไปแล้วในเดือนกันยายน ปี 2560 ก็ตาม แต่เนื่องจาก อำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส มีแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะขนาดใหญ่อยู่ และประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดตลอดเวลา จึงมีโอกาสรับเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างได้สูงมากกว่าพื้นที่อื่น
สำหรับสถานการณ์โรคเท้าช้างในตำบลปาเสมัสแต่เดิมบ้านลูโบ๊ะซามาเคยมีผู้ป่วยที่ตรวจพบไมโครฟิลาเรียจำนวน1ราย แต่ได้เสียชีวิตแล้ว ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการพบผู้ป่วยเพิ่มเติม แต่เนื่องด้วยบริบทพื้นที่ได้ติดกับป่าพรุโต๊ะแดง ทำให้เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคเท้าช้าง ซึ่งนับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนของชุมชนอย่างมากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและการระบาดของโรค ให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยคนในครัวเรือนชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุง ในบ้านและบริเวณบ้านของตนเองอย่างจริงจัง และและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สืบไปซึ่งจะนำไปสู่การปลอดภัยจากโรคและการมีสุขภาพดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคเท้าช้างในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคเท้าช้างและวิธีการเจาะเลือดในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคเท้าช้างและวิธีการเจาะเลือดในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคเท้าช้างและวิธีการเจาะเลือดในกลุ่มเสี่ยง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 80 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องและสังเกตการณ์ จำนวน 10 คน (แบ่ง 2 รุ่นๆละ 45 คน)

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และผู้เกี่ยวข้อง  จำนวน  45  คน
จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 2 รุ่น                                           เป็นเงิน 6,300 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45  คน x 80 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 2 รุ่น
                                                                                              เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท × 2 วัน                                                                                      เป็นเงิน 3,600 บาท - ปากกา แท่งละ 5 บาท จำนวน 80 แท่ง                         เป็นเงิน   400  บาท
- สมุดปกอ่อน เล่มละ 10 บาท จำนวน 80 เล่ม                เป็นเงิน   800  บาท - แฟ้มพลาสติกใสมีกระดุม  จำนวน  80  อันๆละ 10  บาท          เป็นเงิน  800  บาท      - ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ  จำนวน 1  ผืน  ขนาด 1.2  ม.  x 2.4 ม.           เป็นเงิน  750 บาท

รวมเป็นเงิน  19,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชนให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้าง และสามารถป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ๒. อัตราการพบเชื้อในกระแสเลือดรายใหม่ลดลง 3. ผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือดได้รับการติดตามรักษาและเจาะโลหิตซ้ำทุกรายเพื่อลดพยาธิสภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามเจาะเลือดเชิงรุกในหมู่ที่ 8 เพื่อตรวจเชื้อโรคเท้าช้างและจ่ายยาป้องกันโรคเท้าช้าง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเจาะเลือดเชิงรุกในหมู่ที่ 8 เพื่อตรวจเชื้อโรคเท้าช้างและจ่ายยาป้องกันโรคเท้าช้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างแบบรวดเร็ว  ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานโครงการควบคุมงานโรคติดต่อฯ  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • เวชภัณฑ์ยา Diethylcarbamazine Citrate  300 mg ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานโครงการควบคุมงานโรคติดต่อฯ  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง จำนวน 500 แผ่น แผ่นละ ๐.๕๐ สตางค์       เป็นเงิน   25๐   บาท
  • ปากกาเขียนบนแผ่นสไลด์ จำนวน 20 แท่งๆละ 15 บาท            เป็นเงิน    300  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน  16  คน x 35 บาท x 10 วัน   เป็นเงิน  5,600  บาท
  • ถุงผ้าลดโลกร้อน ขนาด 12 x 14 นิ้ว จำนวน 16 ใบๆละ 30 บาท      เป็นเงิน     480  บาท

รวมเป็นเงิน 6,630 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชนให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้าง และสามารถป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ๒. อัตราการพบเชื้อในกระแสเลือดรายใหม่ลดลง 3. ผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือดได้รับการติดตามรักษาและเจาะโลหิตซ้ำทุกรายเพื่อลดพยาธิสภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,480.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้าง และสามารถป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
๒. อัตราการพบเชื้อในกระแสเลือดรายใหม่ลดลง
3. ผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือดได้รับการติดตามรักษาและเจาะโลหิตซ้ำทุกรายเพื่อลดพยาธิสภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย


>