กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ขอเสนอโครงการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในพื้นที่ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2535-01-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาซีเราะห์ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis หรือ Elephantiasis) เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม (Roundworm)ติดต่อโดยทีโดยแมลงเป็นพาหะคือ ยุง ในประเทศไทยพบพยาธิโรคเท้าช้าง ๒ ชนิด ได้แก่ เชื้อWuchereria bancroftiทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พาหะหลัก คือ ยุงลายป่า(Aedes nevius) พบในจังหวัดชายแดนไทย – พม่าในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอนเชียงใหม่ลําพูนกาญจนบุรีราชบุรีระนอง และเชื้อ Brugia malayiทำให้เกิดอาการแขนขาโต มีพาหะหลักคือ ยุงเสือ (Mansonia bonnea)พบทางภาคใต้ของประเทศในจังหวัดสุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราชกระบี่และนราธิวาสสำหรับจังหวัดนราธิวาสโรคเท้าช้างถือเป็นโรคประจำถิ่นมีอัตราความชุกของโรคสูงที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงตรวจพบเชื้อพยาธิไมโครฟิลาเรียอยู่ ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการกำจัดโรคเท้าช้างไปแล้วในเดือนกันยายน ปี 2560 ก็ตาม แต่เนื่องจาก อำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส มีแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะขนาดใหญ่อยู่ และประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดตลอดเวลา จึงมีโอกาสรับเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างได้สูงมากกว่าพื้นที่อื่น สำหรับสถานการณ์โรคเท้าช้างในตำบลปาเสมัสแต่เดิมบ้านลูโบ๊ะซามาเคยมีผู้ป่วยที่ตรวจพบไมโครฟิลาเรียจำนวน1ราย แต่ได้เสียชีวิตแล้ว ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการพบผู้ป่วยเพิ่มเติม แต่เนื่องด้วยบริบทพื้นที่ได้ติดกับป่าพรุโต๊ะแดง ทำให้เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคเท้าช้าง ซึ่งนับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนของชุมชนอย่างมากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและการระบาดของโรค ให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยคนในครัวเรือนชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุง ในบ้านและบริเวณบ้านของตนเองอย่างจริงจัง และและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สืบไปซึ่งจะนำไปสู่การปลอดภัยจากโรคและการมีสุขภาพดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคเท้าช้างในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเท้าช้างรายใหม่ได้รับการรักษาและติดตามเจาะเลือดซ้ำทุกราย

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,480.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคเท้าช้างและวิธีการเจาะเลือดในกลุ่มเสี่ยง 0 19,850.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมติดตามเจาะเลือดเชิงรุกในหมู่ที่ 8 เพื่อตรวจเชื้อโรคเท้าช้างและจ่ายยาป้องกันโรคเท้าช้าง 0 6,630.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้าง และสามารถป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ๒. อัตราการพบเชื้อในกระแสเลือดรายใหม่ลดลง 3. ผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสเลือดได้รับการติดตามรักษาและเจาะโลหิตซ้ำทุกรายเพื่อลดพยาธิสภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2567 00:00 น.