กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1.นางชนิศา ไชยประดิษฐ
2.นางมารีดาฮัจญีหมัดสกุล

โรงเรียนในสังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัสรับผิดชอบ จำนวน 3 แห่ง(โรงเรียนบ้านตือระมิตรภาพที่ 172 ,โรงเรียนบ้านมือบา , โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซามา )

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเหาที่หนังศีรษะ เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เหาจะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร ในน้ำลายของเหามีสารที่ระคายผิวหนังได้ ท้าให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด โดยที่เหา เกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Pediculus humanus ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิต ชนิดนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคตินหุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เด็กเป็นเหาจะมีอาการคันมากและเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ ท้าให้เสียสมาธิในการเรียน บางคนไม่มีอาการมากเท่าใด แต่อาจสร้างความรำคาญได้
พบว่าเด็กผู้หญิงที่มีเหาที่หนังศีรษะ สามารถแพร่การติดเชื้อให้แก่เพื่อนๆ ภายในชั้นเรียนเดียวกัน ภายใน ๒๔ ชม. ไข่มีขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-1 มม. ฟักเป็นตัวอ่อนของเหาภายในหนึ่งสัปดาห์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มักจะทำให้เกิดอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรังได้ บางครั้งเกิด การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอยและข้างคอโตได้
สถานการณ์การเป็นเหาของนักเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลปาเสมัส (3 แห่ง) ข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖6 เป็นไปตาม ตารางดังต่อไปนี้
ที่ โรงเรียน จำนวน นร. ทั้งหมด(คน) จำนวน นร. หญิงทั้งหมด (คน) จำนวนนร.
ที่เป็นเหา(คน) ร้อยละของ (นร.หญิง)
1 โรงเรียนตือระมิตรภาพที่ 172327 93 52 55.91
2 โรงเรียนบ้านมือบา 159 65 34 52.30
3 โรงเรียนบ้านลูโบะซามา 166 63 36 57.14
รวม 652 221 122 55.20
จากสถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นได้ว่าการเกิดเหาในเด็กนักเรียนปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 55.20 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ได้เห็นความสำคัญของโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการ นักเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา ปีการศึกษา 2567 (เทอมที่ 1) โดยใช้กลวิธีกำจัดเหาโดยให้ครู นักเรียน มีส่วนร่วม ในการเฝ้าระวังควบคุมและ ป้องกันโรคได้อย่างประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการเป็นเหาในโรงเรียนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโรคเหามีความตระหนัก การดูแลตัวเองและรักษาโรคเหา

 

0.00
2 เพื่อรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียน

 

0.00
3 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่เป็นโรคเหาภายในโรงเรียน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 122
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมกำจัดเหาในเด็กนักเรียนสมุนไพรกำจัดเหา ในนักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ที่เป็นเหา จำนวน 122 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกำจัดเหาในเด็กนักเรียนสมุนไพรกำจัดเหา ในนักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ที่เป็นเหา จำนวน 122 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1  คน จำนวน 1 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน   1,800 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 132 คน
                  จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 35 บาท จำนวน 3 วัน                          เป็นเงิน  13,860  บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ผืน ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.                              เป็นเงิน  720     บาท
    • ค่าน้ำยากำจัดเหา จำนวน 122 ขวด x 2 ครั้ง x  95 บาท (ขนาด 50 ซีซี)           เป็นเงิน  23,180  บาท
  • ค่าหมวกคลุมผม จำนวน 11 แพคๆละ 180 บาท                                         เป็นเงิน  1,980   บาท
  • ค่าผ้าขนหนู จำนวน 11 แพค ๆละ  300 บาท                                             เป็นเงิน  3,300  บาท
  • ค่าจัดซื้อหวีเสนียด จำนวน 11 แพคละ 180 บาท                                       เป็นเงิน  1,980  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และปฏิบัติการกำจัดเหาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
๒. จำนวนนักเรียนที่เป็นโรคเหาภายในโรงเรียนลดลง
๓. ไม่เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46820.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,820.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และปฏิบัติการกำจัดเหาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
๒. จำนวนนักเรียนที่เป็นโรคเหาภายในโรงเรียนลดลง
๓. ไม่เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่


>