กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา
รหัสโครงการ 67-L2535-01-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมารีดา ฮัจญีหมัดสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 122 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาที่หนังศีรษะ เป็นโรคที่พบบ่อยมากในเด็กนักเรียนอนุบาล ประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนหญิง เหาจะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร ในน้ำลายของเหามีสารที่ระคายผิวหนังได้ ท้าให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด โดยที่เหา เกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Pediculus humanus ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิต ชนิดนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคตินหุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เด็กเป็นเหาจะมีอาการคันมากและเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ ท้าให้เสียสมาธิในการเรียน บางคนไม่มีอาการมากเท่าใด แต่อาจสร้างความรำคาญได้ พบว่าเด็กผู้หญิงที่มีเหาที่หนังศีรษะ สามารถแพร่การติดเชื้อให้แก่เพื่อนๆ ภายในชั้นเรียนเดียวกัน ภายใน ๒๔ ชม. ไข่มีขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-1 มม. ฟักเป็นตัวอ่อนของเหาภายในหนึ่งสัปดาห์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มักจะทำให้เกิดอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรังได้ บางครั้งเกิด การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอยและข้างคอโตได้ สถานการณ์การเป็นเหาของนักเรียนในสังกัดเทศบาลตำบลปาเสมัส (3 แห่ง) ข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖6 เป็นไปตาม ตารางดังต่อไปนี้ ที่ โรงเรียน จำนวน นร. ทั้งหมด(คน) จำนวน นร. หญิงทั้งหมด (คน) จำนวนนร. ที่เป็นเหา(คน) ร้อยละของ (นร.หญิง) 1 โรงเรียนตือระมิตรภาพที่ 172327 93 52 55.91 2 โรงเรียนบ้านมือบา 159 65 34 52.30 3 โรงเรียนบ้านลูโบะซามา 166 63 36 57.14 รวม 652 221 122 55.20 จากสถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นได้ว่าการเกิดเหาในเด็กนักเรียนปีการศึกษา 2566 คิดเป็นร้อยละ 55.20 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ได้เห็นความสำคัญของโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการ นักเรียนวัยใส อนามัยดี๊ดี ไม่มีเหา ปีการศึกษา 2567 (เทอมที่ 1) โดยใช้กลวิธีกำจัดเหาโดยให้ครู นักเรียน มีส่วนร่วม ในการเฝ้าระวังควบคุมและ ป้องกันโรคได้อย่างประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการเป็นเหาในโรงเรียนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโรคเหามีความตระหนัก การดูแลตัวเองและรักษาโรคเหา

 

0.00
2 เพื่อรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียน

 

0.00
3 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่เป็นโรคเหาภายในโรงเรียน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 46,820.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมกำจัดเหาในเด็กนักเรียนสมุนไพรกำจัดเหา ในนักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ที่เป็นเหา จำนวน 122 คน 0 46,820.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และปฏิบัติการกำจัดเหาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
๒. จำนวนนักเรียนที่เป็นโรคเหาภายในโรงเรียนลดลง
๓. ไม่เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2567 00:00 น.