กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดแผนโบราณ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. นางสาวมารียานายะโกะ
2. นางปาตีเมาะยักการียา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธ์และรูปแบบการรักษา มีทั้งการใช้ยาสมุนไพรการนวดการผดุงครรภ์ ตลอดจนรักษาทางจิตใจโดยใช้พฤติกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และการเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีความนิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา และถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ขาดการสืบทอด และผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆที่ความรู้เหล่านี้สามารถดูแลรักษาการเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทยทั้งที่เป็นหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้ยาสมุนไพรวิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวมอนุรักษ์ฟื้นฟูปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ที่อยู่คู่กับประเทศไทยเพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้และประคบสมุนไพรที่เป็นวิธีการของศาสตร์การแพทย์แผนไทยวิธีหนึ่งเป็นวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์โบราณคนไทย นิยมใช้รักษามาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดแผนไทยคือหลังจากนวดเสร็จแล้วประคบหน้าไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวและตัวยาสมุนไพรร้อนร้อนซึมผ่านชั้นผิวหนัง ทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดข้องของข้อต่อ ลดการแข็งเกร็งกล้ามเนื้อ ลดปวด และช่วยลดการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อเอ็น ข้อต่อและช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้น ชมรม อสม.ตำบลปาเสมัสเห็นความสำคัญของการใช้สมุนไพรในชุมชน เพื่อใช้เพื่อนวดเพื่อสุขภาพซึ่งสมุนไพรสามารถหาได้ในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนวดประคบด้วยสมุนไพรเพื่อสุขภาพขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนที่ปวดเมื่อยจากการทำงานสามารถนวดด้วยตนเองส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนโบราณในลักษณะการนวดเพื่อสุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อการรักษาและส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ในการส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคเหน็บชา

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/06/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดแผนโบราณและสาธิตทำลูกประคบและนวดด้วยลูกประคบเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดแผนโบราณและสาธิตทำลูกประคบและนวดด้วยลูกประคบเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 65 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 35
                บาท                                      เป็นเงิน 4,550 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 65 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท
                                                       เป็นเงิน 5,200 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1×2 เมตร จำนวน 1 แผ่นๆละ 500 บาท        เป็นเงิน 500 บาท
    • ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม
      ค่าแฟ้มพลาสติกใส จำนวน 60 แฟ้มๆ ละ 10 บาท             เป็นเงิน  600 บาท ค่าปากกา จำนวน 60 ด้ามๆ ละ 8 บาท                   เป็นเงิน  480 บาท ค่าสมุด จำนวน 60 เล่มๆ ละ 10 บาท                   เป็นเงิน  600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตทำลูกประคบ จำนวน 60 ชุดๆ ละ 80 บาท      เป็นเงิน 4,800  บาท รายละเอียดดังนี้ ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ, เชือก, เหง้าไพล, ตะไตร้, ขมิ้นชัน, การบูร, มะกรูด, ใบส้มป่อย, พิมเสน, ใบมะขาม, เกลือแกง

รวมเป็นเงิน 20,330.- บาท (สองหมื่นสามร้อยสามสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนโบราณที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
    1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อการรักษาและส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ในการส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคเหน็บชา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20330.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,330.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนโบราณที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อการรักษาและส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ในการส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคเหน็บชา


>