กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดแผนโบราณ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2535-02-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปาเสมัส
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียานา ยะโกะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธ์และรูปแบบการรักษา มีทั้งการใช้ยาสมุนไพรการนวดการผดุงครรภ์ ตลอดจนรักษาทางจิตใจโดยใช้พฤติกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และการเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีความนิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา และถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ขาดการสืบทอด และผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆที่ความรู้เหล่านี้สามารถดูแลรักษาการเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทยทั้งที่เป็นหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้ยาสมุนไพรวิธีการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวมอนุรักษ์ฟื้นฟูปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ที่อยู่คู่กับประเทศไทยเพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้และประคบสมุนไพรที่เป็นวิธีการของศาสตร์การแพทย์แผนไทยวิธีหนึ่งเป็นวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์โบราณคนไทย นิยมใช้รักษามาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดแผนไทยคือหลังจากนวดเสร็จแล้วประคบหน้าไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวและตัวยาสมุนไพรร้อนร้อนซึมผ่านชั้นผิวหนัง ทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดข้องของข้อต่อ ลดการแข็งเกร็งกล้ามเนื้อ ลดปวด และช่วยลดการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อเอ็น ข้อต่อและช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีการไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้น ชมรม อสม.ตำบลปาเสมัสเห็นความสำคัญของการใช้สมุนไพรในชุมชน เพื่อใช้เพื่อนวดเพื่อสุขภาพซึ่งสมุนไพรสามารถหาได้ในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนวดประคบด้วยสมุนไพรเพื่อสุขภาพขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนที่ปวดเมื่อยจากการทำงานสามารถนวดด้วยตนเองส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนโบราณในลักษณะการนวดเพื่อสุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อการรักษาและส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ในการส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคเหน็บชา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,330.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดแผนโบราณและสาธิตทำลูกประคบและนวดด้วยลูกประคบเพื่อสุขภาพ 0 20,330.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนโบราณที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
    1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพรเพื่อการรักษาและส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ในการส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดโรค เช่น โรคเหน็บชา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2567 00:00 น.