กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสนับสนุนการป้องกันโรคติดต่อและกำจัดยุงพาหะ ในพื้นที่ตำบลลำไพล ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

เทศบาลตำบลลำไพล

1.นายวัชรินทร์จิตตกุลเสนา ปลัดเทศบาลตำบลลำไพล
2.นายวิชาญ บัวแดง รองปลัดเทศบาลตำบลลำไพล
3.นางสาวชนาภัทรสิงห์หนู หัวหน้าฝสำนักปลัด
4.นายไพศาลโยมมาก หัวหน้าฝ่ายปกครอง
5.นางสาวสุวิมลบุญเกิด นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และซักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
จังหวัดสงขลาเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้จากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา จังหวัดสงขลา ตั้ง 1 มกราคม 2566 – 3 ตุลาคม 2566 มีผู้ป่วย 4,848 ราย จำนวนผู้เสียชีวิต 5 ราย (ข้อมูลจากกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา) ซึ่งการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้จากชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลลำไพล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคตำบลลำไพล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖7 (กิจกรรมสนับสนุนการป้องกันโรคติดต่อและกำจัดยุงพาหะ ในพื้นที่ตำบลลำไพล) เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก โดยการสนับสนุนเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง และสนับสนุนค่าจ้างเหมาแรงงานพ่นหมอกควัน ทั้งกรณีเปิดภาคเรียนและกรณีเกิดโรค อำนวยความสะดวกในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

10.00
2 เพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

3.00
3 เพื่อประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ส่งผลให้แหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายลดลง

 

200.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การควบคุมโรคไข้เลือดออกและการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การควบคุมโรคไข้เลือดออกและการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 200 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 200 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
  3. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  4. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 ตร.ม.ๆละ 150 บาท เป็นเงิน  500 บาท
  5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  2,700 บาท รวมเป็นเงิน 25,000.00.- บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสนับสนุนเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนับสนุนเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องพ่นละอองฝอย ULV จำนวน 2 เครื่องๆละ 91,800 บาท  เป็นเงิน 183,600 บาท
  2. ค่าเครื่องพ่นหมอกควัน ยี่ห้อ สวิงฟอกซ์ จำนวน 1 เครื่องๆละ 91,800 บาท เป็นเงิน 91,000 บาท
  3. ค่าหน้ากากป้องกันสารเคมีและฝุ่นละออง จำนวน 6 ชิ้นๆละ 1,950 บาท เป็นเงิน 11,700 บาท
  4. ค่าจ้างเหมาแรงงานพ่นหมอกควัน (กรณีเปิดภาคเรียน) จำนวน 5 คนๆละ 4 วันๆละ 200 บาท  เป็นเงิน   4,000 บาท
  5. ค่าจ้างเหมาแรงงานพ่นหมอกควัน (กรณีเกิดโรค) จำนวน 2 คนๆละ 40 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท
  6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  4,900 บาท รวมเป็นเงิน 312,000.00.- บาท (สามแสนหนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)

*หมายเหตุ : ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงาน การจัดกิจกรรมสาธารณะ การส่งเสริมกีฬาฯ พ.ศ. 2564 หมวด 3 ค่าใช้จ่ายในการจัดงานและการจัดกิจกรรมสาธารณะ ข้อ 14 ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานในการจัดงาน และการจัดกิจกรรมสาธารณะให้เบิกจ่าย ดังนี้ (1) กรณีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าสี่ชั่วโมงต่อวัน ให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินสองร้อยบาทต่อคนต่อวัน (2) กรณีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ให้เบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายให้แก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) กรณีเจ้าหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานมิใช่บุคคลตาม (1) และ (2) ซึ่งปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าสี่ชั่วโมงต่อวันให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินสองร้อยบาทต่อคนต่อวัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
312000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 337,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
2. อัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกลดลง
3. สามารถสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่


>