กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนการป้องกันโรคติดต่อและกำจัดยุงพาหะ ในพื้นที่ตำบลลำไพล ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5192-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลลำไพล
วันที่อนุมัติ 2 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 337,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายวัชรินทร์ จิตตกุลเสนา 2.นายวิชาญ บัวแดง 3.นางสาวชนาภัทร สิงห์หนู 4.นายไพศาล โยมมาก 5.นางสาวสุวิมล บุญเกิด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 พ.ค. 2567 31 ธ.ค. 2567 337,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 337,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และซักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
จังหวัดสงขลาเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้จากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา จังหวัดสงขลา ตั้ง 1 มกราคม 2566 – 3 ตุลาคม 2566 มีผู้ป่วย 4,848 ราย จำนวนผู้เสียชีวิต 5 ราย (ข้อมูลจากกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา) ซึ่งการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้จากชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน เทศบาลตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลลำไพล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคตำบลลำไพล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖7 (กิจกรรมสนับสนุนการป้องกันโรคติดต่อและกำจัดยุงพาหะ ในพื้นที่ตำบลลำไพล) เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก โดยการสนับสนุนเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง และสนับสนุนค่าจ้างเหมาแรงงานพ่นหมอกควัน ทั้งกรณีเปิดภาคเรียนและกรณีเกิดโรค อำนวยความสะดวกในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

10.00
2 เพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

3.00
3 เพื่อประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ส่งผลให้แหล่งเพาะพันธุ์และลูกน้ำยุงลายลดลง

 

200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 337,000.00 0 0.00
2 พ.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การควบคุมโรคไข้เลือดออกและการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง 0 25,000.00 -
2 พ.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมสนับสนุนเครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 0 312,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  2. อัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกลดลง
  3. สามารถสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2567 00:00 น.